Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11780
Title: ผลของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ที่มีต่อความ เข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อ วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: Effect of 5Es Inquiry Based Learning on Nature of science Understanding, Achievement, and Attitude towards Science of Grade 6 Student
Authors: โมพันธ, ณัฐินี
เจ๊ะแม, อาดีละห์
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
Keywords: การจัดการเรียนรู้;ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้(5Es) ที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนบ้านวังสำราญ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดย การสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ 5) แบบบันทึกภาคสนาม 6) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและการหาค่าคะแนนพัฒนาการ (Gain Score) ด้วยวิธีวัดคะแนนเพิ่มสัมพัทธ์ (Relative Gain Score) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เพิ่มขึ้นทุกประเด็น 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 27.20 และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.53 3) นักเรียนมีคะแนนพัฒนาการทางการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยเท่ากับ 56.29 มีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง 4) ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับค่อนข้างดี 5) นักเรียนมี เจตคติต่อวิทยาศาสตร์หลังเรียน อยู่ในระดับมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ The samples of this research received by purposive sampling were 25sixth grade studentsbwho studied in secondsemester of the academic year 2015at Wangsamran School, Yaha District, Yala Province. The instruments used in the study included 1) lesson plans of 5Es Inquiry based learning on nature of science understanding 2) the nature of science understanding test 3) the scientific achievement test 4) the attitudes toward science test 5) field notes and 6) interviewing.The statistics used for the data analysis were mean, percentage standard deviation and value scores (Gain Score) by using the relative increase (Relative Gain Score). The results of the study revealed that 1) the students ‘understanding of nature of science after teaching through 5Es Inquiry based learning on nature of science understanding were higher than prior one and also increased all issues. 2) The students’ academic achievement were developed comparing before and after the implementation, as the percentage shows; pre-test is 27.20 percent and post-test is 68.53 percent.3) The students’ development were improve is 56.29 percent, progress in high level. 4) The Achievement after learning 5Es Inquiry Based Learning on Nature of science Understanding. In relatively good 5) Student attitudes towards science after learning. In a positive attitude towards science.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11780
Appears in Collections:270 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1448.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.