กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11779
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการกระตุ้นความใส่ใจและการสังเกตที่มีต่อความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Instruction Based on the Natural Approach and Attention and Noticing Stimulation on English Listening and Speaking Abilities of Grade One Students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แก่นอินทร, ธีรพงศ์
อิสมิง, นีนา
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการกระตุ้นความใส่ใจและการสังเกต 2) ศึกษาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการกระตุ้นความใส่ใจและการสังเกต 3) ศึกษาพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการกระตุ้นความใส่ใจและการสังเกต 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการกระตุ้นความใส่ใจและการสังเกต กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านวังกว้าง อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี จำนวน 32 คน ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการกระตุ้นความใส่ใจและการสังเกต 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ 4) แบบวัด เจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการกระตุ้นความใส่ใจและการสังเกต และ 5) แบบบันทึกภาคสนาม (Field Note) ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The Single Group Pretest Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 2) นักเรียนมีระดับความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ 3) นักเรียนร้อยละ 43.75 มีพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในขั้นปลายของช่วงแรกของขั้นพัฒนาการในการเรียนรู้ภาษา 4) นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษตามแนวคิดวิธีธรรมชาติที่เน้นการกระตุ้นความใส่ใจและการสังเกตอยู่ในระดับดีมากThe purposes of this research were 1) to compare the English listening and speaking ability of grade one students before and after teaching and learning 2) to study the level of English listening and speaking ability 3) to study English language development level of the students 4) to study the attitudes of the students learning through the Natural Approach and Attention and Noticing stimulation instruction. The target group of this research were 32 students in grade one at Banwangkwang school, Maelan District, Pattani Province, who studied in the second semester of academic year 2016, selected by purposive sampling. The research instruments included 1) the lesson plans based on the Natural Approach and Attention and Noticing Stimulation instruction. 2) English ability tests of each learning units 3) English listening and speaking ability test 4) questionnaires on attitude to learning by using the Natural Approach and Attention and Noticing Stimulation instruction 5) field notes. The research was conducted during the first semester of the 2016 academic year with one group pretest posttest design. The data were analyzed by mean, percentage, standard deviation and t- test for dependent group. The findings were 1) the students English listening and speaking ability in a posttest was significantly higher than in a pretest after learning by using the natural approach and attention and noticing stimulation instruction at the level of .01 2) overall, the students English listening and speaking ability was at a fair level 3) overall, language development of the students was at the end of the first stages (Pre speech) at a percentage of 43.75 4) the students attitude to learning by using the natural approach and attention and noticing stimulation instruction was at the high level.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11779
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:270 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1447.pdf3.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น