กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11777
ชื่อเรื่อง: ผลการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลการ คิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Cooperative Learning by Jigsaw Technique on Critical Thinking in Social Study of Matayomsuksa 1 Students Islamic Private School in Pattani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จงรักษ์, ดวงมณี
เจะมะ, ยุสนีย์
Faculty of Education (Psychology and Counseling)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
คำสำคัญ: ศาสนาอิสลาม;สังคมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน 90 คน แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ จำนวน 15 คาบๆละ 45 นาที และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวนและเวลาเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.คะแนนความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.คะแนนความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มควบคุมหลังทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนของนักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จำนวน 90 คน แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ จำนวน 15 คาบๆละ 45 นาที และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวนและเวลาเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.คะแนนความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.คะแนนความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มควบคุมหลังทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ความสามารถการคิดเชิงวิจารณญาณวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนของนักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(วิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11777
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:286 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1445.pdf6.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น