กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11769
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Administrative Factors Affecting Educational Quality of Islamic Private Schools in Three Southern Border Provinces
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เนียมเทศ, วุฒิชัย
มะแซ, บารีนา
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
คำสำคัญ: ศาสนาอิสลาม;จังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาระดับปัจจัยด้านการบริหารของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4) หาตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณ คือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 113 โรงเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามโรงเรียนละ 6 คน รวมทั้งสิ้น 678 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .908 สถิติที่ใช้ในการในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยด้านการบริหารของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยด้านการบริหารกับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามใน สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสัมพันธ์ทางบวกค่อนข้างต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ตัวแปรพยากรณ์ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 2 ด้าน ได้แก่ การมุ่งเน้นผู้เรียน และภาวะผู้นำ ซึ่งมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 7.4 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์สูงสุด ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการณ์พยากรณ์ในรูปแบบของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Ŷ = 3.890 + .262 X2 + .-242X2 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ẑy = .427X2 + -.278X1 This study aimed at investigating 1) The level of educational quality of Islamic private schools in three southern border provinces. 2) The level of administrative factors of Islamic private schools in three southern border provinces. 3) The relationship between administrative factors and educational quality of Islamic private schools in three southern border provinces. 4) The predictors of administrative factors affecting educational quality of Islamic private schools in three southern border provinces. This research data was collected by qualitative and quantitative methods.The sample groups of qualitative methods for interview were 6 school directors, The sample groups of quantitative methods were 678 persons from 113 sampling sample school. The instrument was five-rating-scale questionnaire. With reliability of .908. The statics were based on mean, standard deviation, the Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The findings were summarized as follows : 1) The level of educational quality of Islamic private schools in three southern border provinces was at a high level in general and all aspects of the study 2) The level of administrative factors of Islamic private schools in three southern border provinces was at a high level in general and all aspects of the study 3) The relationship between administrative factors and educational quality of Islamic private schools in three southern border provinces, was positively related with the No statistically significant. 4) The predictors of Administrative factors affecting educational quality of Islamic private schools in three southern border provinces were 2 aspects: focus on learners, and leadership, with the predictive power of 7.4 percent, No statistically significant Regression equation in the form of Unstandardized Score Ŷ = 3.890 + .262 X2 + .-242X2 Regression equation in the form of Standardized Score ẑy = .427X2 + -.278X1
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11769
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:260 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1437.pdf6.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น