กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11763
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลในการนำบุตรหลานอายุ 0 - 5 ปี รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคพื้นฐาน ของผู้ปกครอง จังหวัดปัตตานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors Affecting Parents on Seeking Basic Immunization Program for Their Children Aged 0-5 Years in Pattani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประทีปเกาะ, ฐปนรรฆ์ ดอเม็ง, รุสนา Faculty of Education (Education) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา |
คำสำคัญ: | ภูมิคุ้มโรคพื้นฐาน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในจังหวัดปัตตานี ยังมีปัญหาเรื่องความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ทำให้มีเด็กที่ ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเป็นประจำทุกปี การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเน้นเกี่ยวกับปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ที่มีผลต่อผู้ปกครองในการนำบุตรหลานอายุ 0 - 5 ปี รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาการได้รับวัคซีนพื้นฐานในเด็กอายุ 0 - 5 ปี และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลในการนำบุตรหลานรับวัคซีนพื้นฐานของผู้ปกครอง จังหวัดปัตตานี โดยศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 - มีนาคม 2559 ใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีการเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 540 คน ซึ่งใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการนำบุตรหลานรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของผู้ปกครองใช้การวิเคราะห์ถดถอยฺโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่นำบุตรหลานรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 68.0 และไม่ครบตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 32.0 สาเหตุที่รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไม่ครบตามเกณฑ์อายุ คือ กลัวบุตรหลานมีไข้หรือไม่สบายมากที่สุด ร้อยละ 42.8 รองลงมา คือ ไม่มีเวลาหรือพ่อแม่ทำงานต่างพื้นที่ ร้อยละ 17.3 วัคซีนไม่ฮาลาล ร้อยละ 11.0 และสาเหตุอื่นๆ ร้อยละ 28.9 สำหรับปัจจัยที่มีผลในการนำบุตรหลานรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคพื้นฐานของผู้ปกครอง พบว่า ด้านปัจจัยนำ ได้แก่ ระดับการศึกษา (ไม่เรียนหนังสือ Adj OR = 4.06, 95% CI : 1.26 - 13.11) ความเชื่อในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ความเชื่อที่สนับสนุนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในระดับ ปานกลาง Adj OR = 2.81, 95% CI : 1.77 - 4.47 และความเชื่อที่สนับสนุนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในระดับต่ำ Adj OR = 4.53, 95% CI : 1.86 - 11.03) ด้านปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ความพึงพอใจในบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ไม่พึงพอใจในบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค Adj OR = 5.99, 95% CI : 1.18 - 30.46) สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่(สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่เป็นอุปสรรคในการมารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค Adj OR = 5.78, 95% CI : 1.51 - 22.09) ด้านปัจจัยเสริม ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารหรือการรณรงค์เกี่ยวกับวัคซีนและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน (ไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารหรือการรณรงค์เกี่ยวกับวัคซีนและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน Adj OR = 0.25, 95% CI: 0.76 - 0.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เจ้าหน้าสาธารณสุขในพื้นที่ ควรมีการให้ความรู้และสื่อสารให้ผู้ปกครองเข้าใจ เรื่องอาการภายหลังการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคให้มากขึ้นและควรมีการติดตามอาการหลัง การรับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคทุกราย อีกทั้งควรมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองในการรับบริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคเป็นประจำและมีการพัฒนาระบบบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองในพื้นที่ ในส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคที่สำคัญในพื้นที่นั้น ควรมีการเผยแพร่คำฟัตวาหรือคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี ว่าการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคสามารถกระทำได้ไม่ผิดหลักศาสนา โดยใช้เครือข่ายผู้นำศาสนาในพื้นที่มามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาThe coverage of the basic immunization of children aged 0 - 5 years in Pattani province has been a problem that is lower than the World Health Organization?s target. In this study, the researcher focused on predisposing, enabling and reinforcing factors affecting parents on seeking basic immunization program for their children. The objectives of the study were to study the basic vaccinated status of children and factors affecting parents on seeking basic immunization program for their children. The cross sectional analytical study was conducted during October 2014 to March 2015. The multistage random sampling technique was performed and data were collected by interviewing 540 parents. Descriptive statistics were carried out by frequency, percentage, mean and standard deviation. In analyzing factors affecting parents on seeking basic immunization, binary logistic regression was performed. The results of the study found that the completely basic vaccinated status of children following the immunization schedule was 68.0 percent; whereas, 32.0 percent was incompleteness. The reasons of uncompleted vaccination were mainly on worrying of parents about fever or illness of their children (42.8%), followed by busy or work in other areas (17.3%), vaccines were not Halal (11.0%) and other reasons (28.9%). The factors that were statistically significant effects to parents on seeking basic immunization program for their children were predisposing factors: educational level (uneducated Adj OR = 4.06, 95% CI : 1.26 - 13.11), beliefs supporting immunization (moderated level Adj OR = 2.81, 95% CI : 1.77 - 4.47 and low level Adj OR = 4.53, 95% CI: 1.86 - 11.03), enabling factors: satisfaction with services on immunization (unsatisfaction Adj OR = 5.99, 95% CI : 1.18 - 30.46), unrest situation (unrest is obstacle for getting immunization services Adj OR = 5.78, 95% CI : 1.51 - 22.09) and reinforcing factors: receiving information or campaign about vaccines and vaccine preventable diseases (never Adj OR = 0.25, 95% CI: 0.76 - 0.80 ) The local public health officers should educate and communicate to parents about adverse events following immunization and follow up and monitor children after vaccination. The parents' satisfaction with services on immunization should be regularly evaluated and service system should be developed to meet the needs of parents in the areas. The important beliefs on immunization in the areas that are the Fatwa or the judgments of the Thailand's most senior Islamic spiritual leader about vaccination do not violate the religious principles should be published through a network of religious leaders in the areas |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11763 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 270 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1430.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น