Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11754
Title: | การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุ ในจังหวัดปัตตานี |
Other Titles: | The Study of Health Promoting Behavior of Monks in Pattani Province. |
Authors: | บุญจันทร์, นัทธี สีฟ้า, สนธนา Faculty of Education (Educational Administration) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา |
Keywords: | สร้างเสริมสุขภาพ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุ การรับรู้พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในด้านการบริโภคและการออกกำลังกาย สภาพปัญหาและอุปสรรคของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในด้านการบริโภคและการออกกำลังกาย และนโยบายในการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุ ในด้านการบริโภคและการออกกำลังกายของพระภิกษุในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นพระภิกษุในจังหวัดปัตตานี จำนวน 196 รูป กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพเป็นเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดปัตตานี 6 รูป การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรม การบริโภคอาหารของพระภิกษุ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.54 ซึ่งอยู่ในระดับไม่เคยปฏิบัติพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกายของพระภิกษุ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.79 ซึ่งอยู่ในระดับไม่เคยปฏิบัติพฤติกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ปัญหาการบริโภคของพระภิกษุส่วนใหญ่มีการรับรู้ประโยชน์การบริโภคอาหารอยู่ในระดับมาก แต่พระภิกษุส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติ เนื่องจากต้องฉันอาหารที่ญาติโยมนำมาถวาย ส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทไขมันสูง อุปสรรคการบริโภคของพระภิกษุส่วนใหญ่ มีการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง และการฉันในแต่ละมื้อพระภิกษุสงฆ์ไม่สามารถที่จะเลือกเมนูอาหารได้ แต่เลือกฉันอาหารประเภทไขมันในปริมาณที่น้อยลง ปัญหาการออกกำลังกายของพระภิกษุส่วนใหญ่ มีการรับรู้ประโยชน์การออกกำลังกายอยู่ในระดับมาก แต่พระภิกษุส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติ เนื่องจากพระภิกษุมีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย ไม่สามารถออกกำลังกายได้เหมือนบุคคลทั่วไป อุปสรรคการออกกำลังกายของพระภิกษุส่วนใหญ่มีการรับรู้อุปสรรคด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง พระภิกษุออกกำลังกายได้โดยการเดินบิณฑบาต แต่เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ ทำให้พระภิกษุไม่สามารถออกเดินบิณฑบาตได้ และวิธีการออกกำลังกายของพระภิกษุเป็นเพียงการขยับร่างกายตามกิจวัตรประจำวันเท่านั้น และนโยบายที่จะทำให้พระภิกษุตระหนักถึงการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับดูแลสุขภาพ ให้ความรู้ ส่งเสริมให้พระภิกษุเห็นความสำคัญของสุขภาพ เมื่อพระภิกษุเห็นความสำคัญของสุขภาพตนเอง ก็จะทำให้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองThis research aimed to 1) study the health promoting behaviors of Thai Monks in Pattani 2) examine the perception of the health promoting behaviors on consuming and exercising of Thai Monks in Pattani 3) study the problems and obstacles of the health promoting behaviors on consuming and exercising of Thai Monks in Pattani 4)study the policy of the health promoting behaviors on consuming and exercising of Thai Monks in Pattani. This research was conducted by using the Mixed Research Method. The random samples in this study included 196 monks and 6 the Ecclesiastical District monks in Pattani province. The data were analyzed by frequency, means and percentages. The results revealed that the mean score of overall behavior on consuming was at low level (mean = 1.54, SD = 0.67).The mean score of the overall exercising behavior was at low level as well (mean = 0.79, SD = 0.08). Regarding the perception of problem on food consumption behavior among monks in Pattani, it was found that most of the monks perceived problem on consuming the high level. Though most of them perceived the problem, they did not carry out as they needed to consume only foods providing by layman which were mostly in fried food. As for the perception of obstacle on consuming behavior, it was found that most of the monks perceived the obstacle on consuming at moderate level.Since having food in each meal they were unable to choose what they consumed; however, they attemptdid to reduce consuming food full of fats. Concerning the problem on exercising among the monks, the results showed that most of the monks perceived benefit on exercising at high level. Even though their perception of this benefit was high, they still did not carry out in practice due to the fact that they were in limitation. They could not exercise like the general people. It was also found that most of the monks perceived obstacle on exercising behavior at moderate level. They realized that monks could exercise through walking for food offering. However, they were unable to do so because of violent situations the three border provinces of southern Thailand. Therefore, the way to exercise for them was from the body in their routine activities only. In conclusion, the policy should focus on increasing their awareness on health promoting behaviors. Health personals provide them some knowledge about health care and look for various ways to promote their health. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11754 |
Appears in Collections: | 260 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TC1421.pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.