กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11326
ชื่อเรื่อง: | ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำวิจัยของอาจารย์ใหม่ กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Work Life Balance toward New Lecturer’s Research Effectiveness : A Case Study of Faculty of Engineering, Prince of Songkla University (Hatyai Campus) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลกานต์ เมเวส กนกวรรณ ศรีวิรัตน์ Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | อาจารย์มหาวิทยาลัย ภาระงาน;ประสิทธิผลองค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำ วิจัยของอาจารย์ใหม่ กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานใน 1) ด้านการทำงาน 2) ด้านครอบครัว 3) ด้านเวลา 4) ด้านการเงิน 5) ด้านสติปัญญา ที่มีผลต่อ ประสิทธิผลการทำวิจัยของอาจารย์ใหม่ กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา- นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน จากกลุ่มประชากรอาจารย์ใหม่ที่มีอายุงานไม่เกิน5 ปี ทั้งหมด 25 คน ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง พบว่า องค์ประกอบของความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลการทำวิจัย ของอาจารย์ใหม่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในด้านการทำงานสาเหตุจากภาระงานที่หนักเกินไป อัตรากำลังของอาจารย์ ความยากง่ายของงานวิจัย ผู้ช่วยวิจัย ที่ปรึกษาวิจัย ในด้านเวลาสาเหตุจาก การจัดการบริหารเวลาและการจัดตารางสอนให้เหมาะสมกับงานวิจัย ในด้านครอบครัวสาเหตุจาก ภาระการเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวและการอยู่ห่างไกลครอบครัวด้านการเงิน ในด้านการเงิน สาเหตุจากการขาดค่าตอบแทนนักวิจัยและการขาดแหล่งทุนวิจัย และในด้านสติปัญญาสาเหตุจาก การไม่ได้รับการปฐมนิเทศและการฝึกอบรมเกี่ยวกับการวิจัย ตามลำดับ งานวิจัยชิ้นนี้ องค์กรสามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนกำหนดนโยบายใน เรื่องการกำหนดภาระงานให้แก่อาจารย์ในคณะ และนำความคิดเห็นจากอาจารย์ใหม่เป็นแนวทาง ในการบริหารงานวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ในอนาคต และอาจารย์ใหม่สามารถบริหารจัดการ เวลาให้เกิดความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานต่อไป ซึ่งตอบสนองความต้องการของทั้งอาจารย์ ใหม่และองค์กร เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11326 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
kanokwan_Fulltext.pdf | 975.03 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
kanokwan_Paper.pdf | 420.4 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น