กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11324
ชื่อเรื่อง: ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา : กรณีศึกษา ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing Mix Influencing to Consuming Behavior on House Brand Products of Consumers in Muang District Songkhla Province: A Case Study of Tesco Lotus, Muang, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัฒนิจ โกญจนาท
สุปรียา พูลสุวรรณ
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: พฤติกรรมผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ จำนวน 250 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าที และทดสอบค่าเอฟ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ โดยกำหนดค่า p-value ที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20 ‟ 29 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา หรือ เทียบเท่า อาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 ‟ 20,000 บาท ผู้บริโภคสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ มีระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ด้านราคาสินค้าอยู่ในระดับมาก และด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย อยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับความถี่ของพฤติกรรมบริโภคโดยรวมอยู่ในระดับน้อยครั้ง และยังพบว่า ปัจจัยส่วยบุคคลที่ต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมหารบริโภคที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยังพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ในเรื่องมีลักษณะเหมือนกับสินค้ายี่ห้อดัง ผลิตจากบริษัทเดียวกับสินค้ายี่ห้อดัง มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ด้านราคาสินค้าในเรื่องราคาเหมาะสม คุ้มค่าเมื่อเทียบกับคุณภาพ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ด้านการจัดจำหน่าย ในเรื่องมีที่จอดรถสะดวกกว้างขวาง สามารถเดินทางมาใช้บริการได้สะดวก มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมของผู้บริโภค และด้านการส่งเสริมการขาย ในเรื่องมีโฆษณาผ่านสื่อสมํ่าเสมอ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมของผู้บริโภค
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11324
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
supreeya_Fulltext.pdf2.22 MBAdobe PDFดู/เปิด
supreeya_Paper.pdf330.43 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น