กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11323
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis Rate of Return and Risk on Retirement Matual Funds (RMF) of BBL Asset Management Co., Ltd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กลางใจ แสงวิจิตร
อรสิริ แซ่ว่อง
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ;กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด จำนวน 6 กองทุน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิย้อนหลัง 5 ปี พิจารณาผลตอบแทนของกองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพเป็นรายเดือน ทำการศึกษาอัตราผลตอบแทนของตลาดและของกองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพ ความเสี่ยงของกองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพ และการประเมินผลการดาเนินงานของกองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพโดยใช้มาตรวัดตามตัวแบบของ Jensen’s Alpha , Treynor’s Index และ Sharpe’s Index ผลการศึกษาพบว่า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนของตลาดหลักทรัพย์เท่ากับ 0.4794% กองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนอยู่ระหว่าง 0.1656 - 1.1201% กองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนสูงสุด คือ กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (BERMF) ส่วนกองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยรายเดือนต่าสุด คือ กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) กองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีค่าความเสี่ยงต่ำที่สุดโดยวัดจากค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน คือ กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF) ส่วนกองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีค่าความเสี่ยงสูงที่สุด คือ กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF) จากการประเมินผลการดาเนินงานกองทุนเปิดบัวหลวงเพื่อการเลี้ยงชีพ ปรากฏว่า มาตรวัดทั้ง 3 แบบ คือ มาตรวัดตามตัวแบบของ Jensen’s Alpha , Treynor’s Index และ Sharpe’s Index ทุกวิธีให้ผลสอดคล้องกัน โดยกองทุนที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงสุด คือ กองทุนเปิดบัวหลวงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเลี้ยงชีพ (IN-RMF)
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11323
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
onsiri_Paper.pdf331.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
onsiri_Fulltext.pdf2.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น