กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11322
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของการวัดผลการดำเนินงานโดยวิธีมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและวิธีอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษาบริษัท กลุ่ม SET50
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Effect of Organization Performance Measurement by Economic Value Added and Financial Ratio on Stock Price of Listed Companies in Stock Exchange of Thailand : A Case of SET50 Index
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนาวุธ แสงกาศนีย์
ประภัสสร กาพย์เกิด
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: มูลค่าเพิ่ม;มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) ที่นามาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของการวัดผลการดำเนินงานระหว่างวิธีมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) กับวิธีอัตราส่วนทางการเงินด้านความสามารถในการทำกำไร (ROA ROE และEPS) และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้วัดผลการดาเนินงาน (ROA ROE EPS และEVA) กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET50 Index ระยะเวลาในการศึกษา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ.2557 โดยเก็บข้อมูลเป็นรายไตรมาส เทคนิคที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สมการถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย EVA แต่ละปี ในระยะเวลาที่ทาการศึกษาทั้ง 5 ปี มีค่าเป็นบวก กิจการมี NOPAT เพียงพอที่จะสามารถชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และต้นทุนเงินทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการและสร้างความมั่งคั่งให้ผู้ถือหุ้นได้ ส่วนการเปรียบเทียบการวัดผลการดาเนินงานด้วยวิธี EVA กับกำไรสุทธิพบว่าให้ผลไปในทิศทางเดียวกัน คือ บริษัทที่มี EVA เป็นบวก ก็จะมีกำไรสุทธิเป็นบวกเช่นกัน ที่ 88% ผลการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยอย่างง่าย พบว่า EVA รวมถึง ROA ROE และEPS สามารถอธิบายราคาหลักทรัพย์ได้ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 โดย EVA สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ได้น้อยที่สุด ประมาณ 0.6% ส่วนผลการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเชิงพหุคูณ โดยมีขนาดสินทรัพย์ของกิจการ(Firm Size) เป็นตัวแปรควบคุม พบว่า ROA ROE EPS และ EVA มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ในทิศทาง
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11322
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
prapatsorn_Fulltext.pdf2.57 MBAdobe PDFดู/เปิด
prapatsorn_Paper.pdf572.65 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น