กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11313
ชื่อเรื่อง: | สาเหตุการตกออกของนักศึกษา กรณีศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (ภาษาอังกฤษ) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Causes of students’ dropout : A case study of Bachelor Degree of Business Administration in Management (English program) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลกานต์ เมเวส ดรุณวรรณ อรัญดร Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | การออกกลางคัน |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการตกออกของนักศึกษา กรณีศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ (ภาษาอังกฤษ) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อต้องการทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุให้นักศึกษาตกออก และเพื่อ ทราบถึงมุมมอง ความคิดเห็นในเรื่องปัญหาของนักศึกษาที่ตกออก งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิง คุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ วิธีการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus Group Interview) เป็นเครื่องมือในการวิจัย และดาเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์วาท กรรม (Discourse Analysis) ผลวิจัยจากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า มีประเด็นหลักอยู่ 4 ประเด็นที่เป็นสาเหตุ ของการตกออก คือ สาเหตุที่เกิดจากตนเอง ซึ่งมาจาก 1) ไม่ชอบภาษาอังกฤษ 2) อยากลองเรียน 3) คะแนนผ่านตามเกณฑ์สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย 4) คิดว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษเรียนไม่ยาก 5) ติดเกมส์ ติดเที่ยว 6) ความชะล่าใจเพราะเคยเรียนที่ต่างประเทศมาก่อน 7) ไม่วางแผนการเรียน จัดแบ่งเวลาไม่เป็น 8) ทา กิจกรรมมากเกินไป และ 9) การไม่ปรับตัว ในส่วนสาเหตุที่เกิดจากเพื่อน มีสาเหตุมาจาก 1) เพื่อนต่างสาขาชอบชักชวนให้ไปด้วย 2) ความคาดหวังว่าจะได้รับความ ช่วยเหลือจากเพื่อนในห้อง และ 3) เพื่อนชวนให้เรียนด้วยกัน ในส่วนสาเหตุจากครอบครัว มี สาเหตุมาจาก 1) ฐานะทางครอบครัวที่ยากจน และ 2) ผู้ปกครองอยากให้เรียนที่นี่และสาเหตุด้าน ปัญหาสุขภาพ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 1) อุบัติเหตุ และ 2) ความเครียด ผลวิจัยจากการสัมภาษณ์กลุ่ม พบว่า กลุ่มอาจารย์ผู้สอนมีมุมมองและความคิดเห็น เรื่องปัญหาของนักศึกษาที่ตกออก ได้แก่ 1) บทบาทของผู้เรียน ซึ่งประกอบไปด้วย การวางแผน การเรียน การคบเพื่อนที่ดี และการมีทัศนคติที่ดีต่อหลักสูตร และ 2) บทบาทผู้สอน ประกอบไป ด้วย การสอนให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และ การเข้าใจถึงความแตกต่างของนักศึกษาสาหรับกลุ่มเจ้าหน้าที่ประจา หลักสูตรมองว่าประเด็นปัญหาของนักศึกษาที่ตกออก เกิดจาก 1) ปัญหาเกี่ยวกับนโยบาย 2) กระบวนการรับเข้าศึกษา 3) ปัญหาการปรับตัวของนักศึกษา 4) ปัญหาการจัดรายวิชาเรียนของหลักสูตร 5) ปัญหาเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอน และ 6) ปัญหาเกี่ยวกับ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้วิจัยหวังว่างานวิจัยชิ้นนี้จะสามารถนา ไปใช้ได้จริง เพื่อหาแนวทางการแก้ไข ปัญหาการตกออกของนักศึกษาในหลักสูตร และเป็นการวางแผนการดาเนินงานของหลักสูตรใน ลา ดับต่อไป |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ),2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11313 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
darunwan_Fulltext.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น