กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11310
ชื่อเรื่อง: | เจตคติของ Generation Y ต่อภาวะผู้นำ กรณีศึกษา พนักงานที่ทำงานในสาขาการเงินและการธนาคารใน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Generation Y attitudes towards Leadership : a Case Study of the Employees who work in the field of finance and banking in Hatyai, Songkhla. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริญญา เชาวนาศัย กรญา ลิ้มโอฬารสุขสกุล Faculty of Management Sciences (Business Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ |
คำสำคัญ: | ภาวะผู้นำ;Generation Y |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้ลักษณะและพฤติกรรมในการทางานของ Generation Y และศึกษาว่า Generation Y มีการตอบสนองต่อภาวะผู้นาและมีเจตคติต่อผู้นาแต่ละประเภทอย่างไร รวมถึงศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันของ Generation Y ว่ามีผลต่อเจตคติที่มีต่อภาวะผู้นาหรือไม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงาน Generation Y ที่ทางานในสาขาการเงินและการธนาคาร ในอาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จานวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไค-สแควร์ (Chi – square test : ) เพื่อทดสอบความเป็นอิสระต่อกัน (Test of Independence) ผลการศึกษาพบว่า ผู้นาแบบมอบหมายงานให้ทา เป็นรูปแบบผู้นาที่มีลักษณะในการทางานที่ Generation Y ต้องการร่วมงานด้วยมากที่สุดในจานวนผู้นาทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ ผู้นาแบบบอกให้ทา , ผู้นาแบบขายความคิด , ผู้นาแบบเน้นการทางานแบบมีส่วนร่วม และผู้นาแบบมอบหมายงานให้ทา ผลการศึกษายังพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลบางปัจจัยที่แตกต่างกันมีความต้องการลักษณะในการทางานของผู้นาที่แตกต่างกันด้วย เช่น เพศหญิงมีความต้องการลักษณะในการทางานที่เจ้านายคอยตรวจติดตามงานที่มอบหมายเป็นประจา เพื่อที่จะสามารถประเมินความคืบหน้าของงานและการเรียนรู้ของลูกน้อง และลักษณะในการทางานที่ เจ้านายมีการตั้งมาตรฐานในการทางานในด้านต่างๆของลูกน้องมากกว่าเพศชาย. Generation Y ที่มีช่วงอายุระหว่าง 27 – 31 ปี มีแนวโน้มเห็นด้วยมากที่สุดกับการทางานที่เจ้านายมอบหมายงานให้แก่ลูกน้องในปริมาณที่น้อยเพราะง่ายต่อการควบคุมในการทางาน และยังพบว่าพนักงานที่ทางานในองค์กรเอกชนต้องการลักษณะในการทางานที่ได้รับมอบหมายงานในปริมาณที่น้อย มากกว่ากลุ่มที่ทางานในองค์กรรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรจึงจาเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะและพฤติกรรมในการทางานของ Generation Y เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร |
รายละเอียด: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(บริหารธุรกิจ), 2559 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11310 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 460 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
korraya_Fulltext.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
korraya_Paper.pdf | 680.09 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น