กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11076
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุความสุขในชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development Causal Relationship Model of Life Happiness of the Administrative Staff of Prince of Songkla University.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัชรินทร์, หนูสมตน
จุฑามาศ, เสถียรพันธ์
Faculty of Education (Psychology and Counseling)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
คำสำคัญ: บุคลากรสายสนับสนุน;มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเชิงเปรียบเทียบความสุขในการปฏิบัติงาน ความพึงพอในครอบครัว และความสุขในชีวิต 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงโมเดลเครื่องมือวัดความสุขในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุความสุขในชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะตามวัตถุประสงค์การวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสายสนับสนุนทั้ง 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตภูเก็ต การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบ แบ่งชั้นภูมิ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยระยะที่ 1 และระยะที่ 3 มีจำนวน 1,000 คน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในระยะที่ 2 มีจำนวน 290 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติสำหรับสถิติบรรยายและวิเคราะห์โมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรสายสนับสนุนที่นับถือศาสนาและมีระดับรายได้แตกต่างกันส่งผลให้มีความสุขในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 และบุคลากร สายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานในวิทยาเขตแตกต่างกัน ส่งผลให้มีความสุขในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในครอบครัว และความสุขในชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01 2) องค์ประกอบความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง -0.14 ถึง 0.95 เรียงค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สภาพแวดล้อมในงาน คุณลักษณะของงาน ผลลัพธ์ที่คาดหวังของงาน ความพึงพอใจในชีวิต ความพึงพอใจในงาน ความรู้สึกทางบวก และความอดทนต่อสถานการณ์ทางลบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.95, 0.94, 0.91, 0.91, 0.84, 0.78, 0.68, และ -0.14 ตามลำดับ และผลการพิจารณาความสอดคล้องระหว่างโมเดลองค์ประกอบตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีดังนี้ มีค่า Chi-square = 407.70, df = 595, p =1.000, RMSEA = 0.000, AGFI = 0.90, GFI =0.94, CFI= 1.00, SRMR = 0.037 3) โมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุความสุขในชีวิตของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัวแปร ได้แก่ ความสุขในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในครอบครัว และความสุขในชีวิต ตัวแปรแฝงทั้งหมดวัดจากตัวแปรสังเกตได้จำนวน 14 ตัวแปร ผลการวิจัยพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าChi-square = 11.45, df = 27, p = 0.995, RMSEA = 0.000, AGF = 0.98, GFI = 1.000, CFI = 1.000, SRMR = 0.003 โดยตัวแปรแฝงในโมเดลร่วมกันพยากรณ์ความสุขในชีวิตได้ร้อยละ 88 แสดงว่าความสุขในชีวิตได้รับอิทธิพลทางตรงจากความพึงพอใจในครอบครัว และได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความสุขในการปฏิบัติงาน The objectives of this research were 1) to conduct comparative study exploring Work Happiness, Family Satisfaction, and Life Happiness. 2) to develop a composite indicator of Work Happiness. 3) to develop causal relationship model of Life Happiness of the administrative Staff of Prince of Songkla University, which divided the research into 3 stages following the objectives. The sample of the administrative Staff of Prince of Songkla University from 5 Campuses, which were, Pattani, Hatyai, Surattani, Trang, and Phuket Campus. Sample were derived from a proportionate stratified random sampling. The sample of the first stage and third stage of the research consisted of 1,000 staff and Sample size of the second stage is 290 staff. Analytical for descriptive statistic using the statistical software package for research, and LISREL were use for the causal relationship model analysis and to test the concordance of hypothetic model. The major findings were: 1) different religion and average monthly income affected the work happiness of Prince of Songkla University with significance at .01 level. Different campuses affected Work Happiness, Family Satisfaction, and Life Happiness of Prince of Songkla University with significance at .01 level. 2) the model was consistent with an eight-aspect model and fit the data well. Ranging from the highest aspect loading value to the lowest, they were from -0.14 to 0.95 respectively: Relationship, Work Environment, Job Characteristics, Desirable Outcome, Life Satisfaction, Job Satisfaction, Positive Affect and Negative Affect. The multiple R-square relationships between each aspect and the Work Happiness were 0.95, 0.94, 0.91, 0.91, 0.84, 0.78, 0.68, and -0.14 respectively. The construct validity of models was consistent with empirical data, with chi-square goodness of fit test at 407.70; df = 595; p =1.000; RMSEA = 0.000; AGFI = 0.90, GFI =0.94, CFI= 1.00, SRMR = 0.037 3) the causal relationship model of Life Happiness. The developed model consisted of three latent variables which were Work Happiness, Family Satisfaction and Life Happiness. The latent variables were measured with 14 observed of variables. The construct validity of models was concordant with the empirical data in a good criteria or high validity which was confirmed by Chi-square =11.45; df = 27; p = 0.995; RMSEA = 0.000; AGFI =0.98; GFI = 1.000; CFI = 1.000; SRMR = 0.003. All latent variables in the model altogether described the variation of Life Happiness was equal to 88%.The Life Happiness was directly affected from Family Satisfaction and Work Happiness, and both directly and indirectly affected from Work Happiness.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11076
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:286 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1339.pdf32.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น