กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11072
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of Flipped Classroom Approach on Science Achievement, Self-Directed Learning and Scientific Attitudes of Grade 11 Students.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐวิทย์, พจนตันติ
ณัซรีน่า, อุเส็น
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน;วิทยาศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2/2558 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.เมือง จ.ปัตตานี จำนวน 42 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางใช้วิธีการเรียนรู้แบบ LDEQ ที่ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ 1) ขั้นการเรียนรู้ (Learning) เป็นขั้นที่ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาด้วยตนเองนอกห้องเรียน 2) ขั้นการอภิปราย (Discussion) เป็นขั้นที่ผู้เรียนออกแบบการอภิปรายและร่วมกันอภิปรายเนื้อหาในชั้นเรียน 3) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นขั้นที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ยืนยันและขยายความรู้เพิ่มเติมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และ 4) ขั้นทดสอบย่อย (Quiz) เป็นขั้นทดสอบเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหลังเรียนจบแต่ละหัวข้อ ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 15 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง เรื่อง การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของพืชดอก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา แบบวัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และแบบบันทึกภาคสนามของผู้วิจัย ดำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent group) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา การเรียนรู้ด้วยตนเอง และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 This research aimed to study the effect of Flipped Classroom approach on science achievement, self-directed learning and scientific attitudes of grade 11 students. The samples of the study were forty-two students studying in grade 11/3 at Demonstration School Prince of Songkla University, Muang District, Pattani Province, Thailand, in the second semester of the 2015. The samples were selected by the cluster random sampling technique. They were instructed through Flipped Classroom approach using LDEQ model that including four steps of learning 1) Learning: this step the student is required to study by themselves. 2) Discussion: this step the student is required to design their discussion activities and do discuss among their group. 3) Elaboration: this step is to motivate the student to confirm and expand their knowledge and apply it through their daily life. 4) Quiz: this step is designed to evaluate the student’s knowledge and understanding of the given topic. This step will evaluate after finished each topic. The duration of research was 15 hours. The research instruments consisted of a lesson plans designed based on the Flipped Classroom approach learning under the topic of reproduction of flowering plants and their growth, achievement test, self-directed learning test, scientific attitudes test and researcher’s field-note. The experimental research was conducted using one group through pretest-posttest design. The data was analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent group. The results were shown as follows: students learning by Flipped Classroom approach had the students mean score of the post-test on biology achievement, self-directed learning and scientific attitudes was higher than the pre-test mean score at the significant level of .01.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11072
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:270 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1335.pdf3.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น