กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11056
ชื่อเรื่อง: | Factors Affecting Stillbirth in Ever-Pregnant Women in Nepal |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | ปัจจัยที่มีผลต่อทารกตายคลอดในผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ประเทศเนปาล |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | Apiradee, Lim Mahesh, Prasad Bhusal |
คำสำคัญ: | ตั้งครรภ์;ทารกตาย;ประเทศเนปาล |
วันที่เผยแพร่: | 2016 |
สำนักพิมพ์: | Prince of Songkla University, Pattani Campus |
บทคัดย่อ: | Stillbirth is a common adverse pregnancy outcome which is a distressing and traumatic event for women and their partners. This is a serious and neglected maternal health problem in developing countries like Nepal. The aim of the study is to identify factors affecting stillbirth in ever-pregnant women in Nepal. This study utilized individual women’s data set from Nepal Demographic and Health Survey (NDHS), which is a nationally representative cross sectional survey conducted in 2011. This survey interviewed 10,826 households. In selected households, 12,674 women aged 15-49 years. The response rate was 95.3%. The outcome was whether or not women who had at-least one stillbirth during their lifetime. The association between determinants with women having stillbirth was analyzed using the chi-squared test. These determinants, which were significant in the univariate analysis, were consequently included in the logistic regression model to identify the strength of association between these determinants and the outcome. Among 8,918 ever-pregnant mothers aged 15-49 years, 488 mothers had experienced at least one stillbirth during their life time representing a 5.47% of the total. After adjusting each factor for the confounding effects of other factors, maternal age, maternal education, place of residence and subregion were significantly associated with women having stillbirth. The risk of stillbirth increased as the mother’s age; Mother’s residing in rural areas had a higher adjusted percentage of stillbirths than those residing in urban areas. Higher educated mothers had a lower chance of having a stillbirth. Out of 13 sub-regions, central mountain, western mountain and far-western hill had significantly higher and central hill and central terai had significantly lower percent of women who had at least one stillbirth compared to the overall mean percentage. Stillbirth continuous to be a major problem among women across higher maternal age, illiterate mothers and geographical region. To minimize the stillbirth in Nepal, plans and policies should be focused on low education mothers living in rural area with special focus on women who reside in western mountain and far-western hill regions. ทารกตายคลอดเป็นผลจากการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ และเกิดภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์และคู่ครองปัญหาสุขภาพของมารดาเป็นปัญหาที่ควรต้องได้รับแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งปัญหานี้ถูกละเลยในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเช่น เนปาลดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อภาวะทารกตายคลอดในผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ประเทศเนปาล การศึกษานี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานการสำรวจสุขภาพและข้อมูลพื้นฐานประเทศเนปาล (Nepal Demographic and Health Survey: NDHS) โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างในประเทศเนปาล ปี ค.ศ. 2011 เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางมีหน่วยตัวอย่างที่ถูกสัมภาษณ์ทั้งหมดจำนวน10,826 บ้านเรือน เป็นหญิงที่มีอายุอยู่ในช่วง 15-49 ปี จำนวน 12,674 คน และมีผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 95.3ตัวแปรตามของการศึกษานี้ คือ หญิงที่มีอายุอยู่ในช่วง 15-49 ปี และเคยมีภาวะทารกตายคลอดอย่างน้อยหนึ่งครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-squared test)และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก(Logistic regression) ผลจากการศึกษา พบว่า หญิงที่เคยตั้งครรภ์และมีอายุอยู่ในช่วง 15-49 ปี จำนวน 8,918 คน เป็นหญิงที่เคยมีภาวะทารกตายคลอดอย่างน้อยหนึ่งครั้งจำนวน 488 คน คิดเป็นร้อยละ 5.47 หลังจากปรับตัวแปรกวนของแต่ละปัจจัยแล้ว พบว่า อายุของมารดา การศึกษาของมารดา ภูมิลำเนา และภูมิภาคต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับผู้หญิงที่มีภาวะทารกตายคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความเสี่ยงของภาวะทารกตายคลอดเพิ่มสูงขึ้นตามอายุของมารดา มารดาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทมีร้อยละของภาวะทารกตายคลอดสูงกว่ามารดาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ในขณะที่มารดาที่มีการศึกษาสูงโอกาสมีภาวะทารกตายคลอดค่อนข้างต่ำ สำหรับภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งหมด 13 ภูมิภาค ภูมิภาคภูเขาส่วนกลาง (central mountain) ภูมิภาคภูเขาฝั่งตะวันตก (western mountain) และเนินเขาทางด้านตะวันตกไกลออกไป (far-western hill) มีร้อยละของภาวะทารกตายคลอดสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่เนินเขาส่วนกลาง (central hill) และธีรายส่วนกลาง (central terai)มีร้อยละของภาวะทารกตายคลอดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ภาวะทารกตายคลอดยังคงเป็นปัญหาสำคัญในกลุ่มมารดาที่มีอายุสูงขึ้น ไม่รู้หนังสือ และอาศัยอยู่ในชนบท เพื่อลดภาวะทารกตายคลอดในประเทศเนปาล การวางแผนและวางนโยบายจึงเป็นสิ่งสำคัญในกลุ่มมารดาที่มีการศึกษาน้อย และอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งมารดาที่อยู่ในภูมิภาคภูเขาฝั่งตะวันตกและเนินเขาทางด้านตะวันตกไกลออกไป |
รายละเอียด: | Thesis (M.Sc.(Research Methodology))--Prince of Songkla University, 2015 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11056 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 722 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1306.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น