กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11053
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model of School Administration based on Multicultural Education in the Three Southern Border Provinces.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วุฒิชัย เนียมเทศ
ทิฆัมพร, สมพงษ์
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนวรรณคดีไทย และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวรรณคดีไทย โดยดำเนินการทดสอบก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มเดียว (One group pretest-posttest design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (One sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก มีระดับความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนวรรณคดีไทย ระดับดีเยี่ยมร้อยละ 23.33 ระดับดีร้อยละ 46.66 ระดับพอใช้ร้อยละ 26.66 และระดับผ่านร้อยละ 3.33 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก มีระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวรรณคดีไทย ระดับดีเยี่ยมร้อยละ 53.33 ระดับดีร้อยละ 33.33 และระดับพอใช้ร้อยละ 13.33 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวรรณคดีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก มีความคงทนในการเรียนวรรณคดีไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 This research aims to study the effects of learning Activities Using graphic organizer technique on critical thinking, learning achievement and retention in Thai literature of Grade 7 Students. The target sample is thirty Grade 7 Students from Kanaratbamrung Yala School in the first semester of 2015 academic year. The tools use in this research consists of the learning management strategy by graphic organizer technique, the critical thinking framework of Thai literature study, and the achievement framework of Thai literature study. The research follows the one group pretest – posttest design and the analysis gathered from the findings of statistical percentages, statistical means, standard deviation, and one sample T-Test. The results are listed as follows: 1. The results of students undergo the learning management by graphic organizer technique on critical thinking in Thai literature study are; Excellent 23.33 percent, Good 46.66 percent, Fair 26.66 percent, and Pass 3.33 percent. 2. The results of students undergo the learning management by graphic organizer technique on achievement in Thai literature study are; Excellent 53.33 percent, Good 33.33 percent, and Fair 13.33 percent. 3. The students undergo the learning management by graphic organizer technique achieved the higher posttest achievement score in Thai literature study than pretest score at the statistical significance of 0.05. 4. The students undergo the learning management by graphic organizer technique achieved the retention in Thai literature study at the statistical significance of 0.05.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11054
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:260 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1303.pdf2.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons