กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11011
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Administration of Buddhist Administrative Ecclesiastical Officials
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงมณี จงรักษ์
สุวัฒสัน รักขันโท
Faculty of Education (Educational Technology)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คำสำคัญ: พระสังฆาธิการ;พุทธศาสนา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนา และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ โดยใช้วิธีวิจัยแบบพหุวิธี (Multiple Methodologies) มีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน การวิจัยขั้นตอนที่ 1 การศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary Analysis) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ (Expert Interview) จำนวน 2 รูป การศึกษาวัดพัฒนาตัวอย่าง (Case Study) จำนวน 2 วัด และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของพระสังฆาธิการ ประกอบด้วย องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การมีวิสัยทัศน์ 2. การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 3. การวิเคราะห์สถานการณ์และการคาดการณ์อนาคต 4. การจัดสรรและการรู้จักใช้สอยทรัพยากร 5. การควบคุมและการประเมินผล รูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านงาน 2. ด้านภาวะผู้นำ 3. ด้านส่วนตัว และวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 4 วิธีการ ได้แก่ 1. การศึกษา 2. การสัมมนา 3. การฝึกอบรม 4. การดูงาน การวิจัยขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ (Modified Delphi Technique) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวิธีการพัฒนามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด (ค่า Mdn. ระหว่าง 4.00 – 5.00) และมีความสอดคล้องกันในระดับมาก (ค่า I.R. ระหว่าง 0.00 – 1.50) รูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวิธีการพัฒนา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่า Mdn. ระหว่าง 4.50 – 5.00) และมีความสอดคล้องกันในระดับมาก (ค่า I.R. ระหว่าง 0.00 – 1.50) การวิจัยขั้นตอนที่ 3 การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส จำนวน 150 รูป ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวิธีการพัฒนา มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.32) รูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และวิธีการพัฒนา มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ( = 4.41) เช่นกัน และการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส จำนวน 9 รูป โดยใช้แผนการทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pre-test and Post-test Design) มีระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของพระสังฆาธิการก่อนและหลังการทดลองโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (p = .02)The purposes of this research were to study, develop, and present the Development Model of Strategic Leadership for Sangha Administration of Buddhist Administrative Ecclesiastical Officials. The multiple methodologies, with 3 methodology processes, were utilized in this research. The aim of the 1st process was to study the strategic leadership for Sangha Administration of Buddhist Administrative Ecclesiastical Officials, the methodologies used for this process include document analysis, two expert interviews, two case studies, and a focused group with 18 participants. The results showed that the Strategic Leadership for Sangha Administration of Buddhist Administrative Ecclesiastical Officials consisted of 5 components: 1. Vision, 2. Creative, 3. Situation analysis and future expectations, 4. Resource management and allocation, and 5. Control and evaluation. The strategic leadership development process consisted of 3 components: 1. Career, 2. Leadership, and 3. Personal life. There were 4 methods to develop the strategic leadership: 1. Learning, 2. Seminar, 3. Training, and 4. Site visit. The aim of the 2nd process was to develop the strategic leadership using Modified Delphi Technique to study the 18 sample participants. The results showed high suitability (Mdn. value of 4.00 – 5.00) and high correlation (I.R. value of 0.00 – 1.50) between the strategic leadership components and the methods to develop the strategic leadership. The results also showed the highest suitability (Mdn. value of 4.50 – 5.00) and high correlation (I.R. value of 0.00 – 1.50) between the strategic leadership development process and the methods to develop the strategic leadership. The aim of the 3rd process was to evaluate the potential and the practicality of the developed model. The model evaluation using 150 study samples of the abbots of Buddhist monks showed that the model’s strategic leadership components and their development method were very suitable and very practical ( = 4.32), the model’s strategic leadership development and its development processes showed that the model has high potential to be used suitably and practically ( = 4.41). Similarly, the developed model evaluation was also done with another sample group: 9 abbots of Buddhist monks. The evaluation was done for 6 month period using methodology called “One Group Pre-test and Post-Test Design” in which the evaluation test was performed before and after the model was applied. The result showed that there was a significant difference in the strategic leadership level of the sample group before and after the model was applied that statistically significant change was found to be .05 (p = .02).
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2557
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11011
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:263 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1330.pdf8.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น