กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11010
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตบริการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategies of Inclusive Education Management of Primary Schools in Special Education Service Center, Education Area III
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชวลิต เกิดทิพย์
สมจิต ทองเกตุ
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
คำสำคัญ: บริหารจัดการเรียน;บริหารจัดการเรียน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตบริการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตบริการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้าวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาแกนนำจัดการเรียนร่วมจำนวน 692 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิด Likert scale และระยะที่สองเป็นการสร้าง กลยุทธ์การบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตบริการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 16 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้าวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบโครงการจัดการเรียนร่วม และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตรวจสอบกลยุทธ์ โดยการสนทนากลุ่มผู้ปฏิบัติและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์มหาวิทยาลัย เครื่องมือได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการเรียนรวมของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตบริการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบได้แก่ (1) การบริหารงานวิชาการ (2) คุณภาพการจัดการเรียนการสอน (3) การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (4) การบริหารงบประมาณ อาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์ (5) การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล (6) คุณภาพผู้บริหาร (7) การคัดแยกเด็ก และ (8) การพัฒนาครู 2) กลยุทธ์การบริหารจัด การเรียนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตบริการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3 จำนวน 3 ด้านด้วยกันคือ (1) ด้านการบริหารจัดการเรียนร่วม ประกอบด้วย การบริหารงบประมาณ อาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์ การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล คุณภาพผู้บริหารและการพัฒนาครู (2) ด้านการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ คุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการคัดแยกเด็ก และ (3) ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ The purpose of this research was to analyze factors and develop strategies of inclusive education management for primary schools in Special Education Service Center, Education Area III. The study was divided into 2 phases. Phase 1 : analysis of strategies inclusive education management for primary schools in Special Education Service Center, Education Area III.The sample of this study were 644 personsincluding school administration, heads of academic affairs and teachers who were in change of inclusive education. Phase 2 : strategy development of inclusive education management forprimary schools in Special Education Service Area III. Key informants were 16 persons including school administrators heads of academic affairs, and teacher who were in change of inclusive education and representatives of school board. The developed strategies was approved by practitioners, experts from directors of inclusive education centers, school directors and universityfaculty. Research instruments semi-structured interview protocol, a form of focus group discussion. Quantitative data were analyzed by using exploratory factor analysis and qualitative data were analyzed by using content analysis. Then, it was used for creating an interview protocol aiming a performance procedure interviewees per school were school administrator, academic chief, teacher taking charge of inclusive school project, and representatives of school committee. Next, a draft of inclusive education management strategies for primary schools in Special Education Service Center, Education Area III was proceeded by focus group with performers in leading inclusive schools The finding revealed as follows; 1) The inclusive education management of primary schools in Special Education Service Center, Education Area III was comprised of 8 factors; (1) academic management, (2) instructional quality, (3) Learning Society formation, (4) management of budgeting, building, environment, and public relation, (5) supervision, monitoring, evaluation, and reporting, (6) administrator’s quality, (7) screening of children, and (8) teacher development.2) The inclusive education management strategies for primary schools in Special Education Service Center, Education Area III was comprised of 3 parts; (1) inclusive management consisting in management of budgeting, building, environment, and public relation, supervision, monitoring, evaluation, and reporting, administrator’s quality, and teacher development, (2) learning management consisting in academic management, instructional quality, and screening of children, and (3) Learning society formation.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ด.(สาขาวิชาการบริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11010
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:260 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1329.pdf3.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น