กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10644
ชื่อเรื่อง: | การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลกระทบต่อห้องสมุดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Applications of Information Technology and Impacts on University Libraries in Songkhla Province. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชุ่มจิตต์, แซ่ฉั่น วีระชัย, อินทรอนันต์ Faculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สารสนเทศ;เทคโนโลยีสารสนเทศ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปในห้องสมุดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาผลกระทบในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา 3) เพื่อศึกษาผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจ ของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา ต่อผลที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุด 4) เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุดตามงานที่รับผิดชอบ จำแนกตาม วุฒิการศึกษา สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา อายุการทำงาน และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบด้านร่างกาย และจิตใจของบุคลากรห้องสมุดตามอายุ อายุการทำงาน ประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานที่รับผิดชอบ และจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ กลุ่มประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยในเขตจังหวัดสงขลา 5 แห่ง จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการหาร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 72.50 มีอายุระหว่าง 25-35 ปี คิดเป็นร้อยละ40.00 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 75.80 ในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นร้อยละ 50.80 ส่วนใหญ่มีอายุในการทำงาน ระหว่าง 6 – 10 ปี และระหว่าง 16 – 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.30 เท่ากัน มีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 10 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 77.50 ส่วนใหญ่รับผิดชอบงานบริการสารสนเทศ คิดเป็นร้อยละ 38.30 และมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในที่ทำงานต่อวันระหว่าง 6-8 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 54.20 2. สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา พบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านงานธุรการ(บริหารงานทั่วไป) มีนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมาคือ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ งานบริการทรัพยากรสารสนเทศ งานจัดซื้อจัดการทรัพยากรและงานวารสารและหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ 3. ผลกระทบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุด พบว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านงานจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ งานบริการทรัพยากรสารสนเทศ งานวารสารและหนังสือพิมพ์ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานธุรการ(บริหารทั่วไป) ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ได้รับ ผลกระทบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุด มากกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ยกเว้น งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ผลกระทบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุด มากกว่ามหาวิทยาลัยอื่น 4. ผลกระทบทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจและด้านอื่นๆ ของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา พบว่า บุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้รับผลกระทบทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ มากกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ยกเว้น บุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้รับผลกระทบด้านอื่นๆ มากกว่ามหาวิทยาลัยอื่น 5. ผลกระทบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานห้องสมุด จำแนกตาม ตาม วุฒิการศึกษา สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา อายุการทำงาน และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า โดยรวมบุคลากรที่มีระดับการศึกษา สาขาที่สำเร็จการศึกษา และประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน ได้รับผลกระทบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น บุคลากรที่มีอายุการทำงาน แตกต่างกัน ได้รับผลกระทบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน 6. ผลกระทบทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจและด้านอื่นๆ ของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลาต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ จำแนกตามอายุ อายุการทำงาน ประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานที่รับผิดสอบ และจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ พบว่า โดยรวมบุคลากรที่มีอายุการทำงาน งานที่รับผิดสอบ และจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ แตกต่างกัน ได้รับผลกระทบทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น บุคลากรที่มีอายุและประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกัน ได้รับผลกระทบทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจและด้านอื่นๆ แตกต่างกัน The purposes of this research were 1) to study the status of application of information technology in university libraries in Songkhla province 2) to study impacts of using information technology on library staff’s performance 3) to study physical impacts, mental impacts and others to staff regarding the application of information technology on library performance 4) to compare physical impacts, mental and other impacts and staff classified by education degree, major, length of employment, using information technology experience, job responsibility, and number of hours in using computer. The population of this research was 120 library staff. The instrument of this research was questionnaire. The statistics for analyzing were percentage, average, and standard deviation. The results of the research found that 1. Information of the population found that mostly were female 72.50%, age between 25-35; 40.00%, bachelor degree 75.80%, library science and related disciplines 75.80%, length of employment between 6–10 years and 6–10 years 23.30%, more than 10 years using information technology experience 77.50 %, job responsibility in information services 38.30 %, and number of hours in using computer 54.20 %. 2. The application status of information technology found that the staff who worked in general administration section applied information technology the most, followed by information technology section and journal and newspaper section applied at least. 3. The impacts of application of information technology for library performance found that the staff who worked in acquisition section, information services section, journal and newspaper section, information technology section and general administration section in Hatyai university affected more than other universities, except information resources analysis section in Rajamangala University of Technology Srivijaya. 4. The physical impacts, mental impacts and other impacts to library staff in Songkhla province regarding application of information technology on library performance found that the staff who worked in Hatyai university had physical and mental impacts more than other universities, except library staff who worked in Rajamangala University of Technology Srivijaya. 5. Overall, there was no statistically significant difference between impacts of applying information technology on library performance and library staff classified by education degree, major, using information technology experience, job responsibility, and number of hours in using computer, except library staff who had differences of length of employment. 6. Overall, there was no statistically significant difference between the physical, mental and other impacts of applying information technology and library staff classified by length of employment, job responsibility, and number of hours in using computer, except library staff who had differences of age and application of information technology experience. |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10644 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 421 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1239.pdf | 4.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น