กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10625
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of STEM Education Approach on Biology Achievement, Problem Solving Ability and Instructional Satisfaction of Grade 11 Students.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐวิทย์, พจนตันติ
นัสรินทร์, บือซา
Faculty of Education (Education)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา
คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอน;ผลสัมฤิทธิ์ทางการเรียน;มัธยมศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education)ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 39 คน ซึ่งได้จากวิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยการ จับสลาก (Simple Random Sampling) โดยใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีขั้นตอนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดความ พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบบันทึกภาคสนามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งดำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน(t-test dependent group) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีคะแนนพัฒนาการ ร้อยละ 41.03 อยู่ในระดับต้น ร้อยละ 30.77 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 20.51 อยู่ในระดับสูง และร้อยละ 7.69 อยู่ในระดับสูงมาก นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาความสามารถในการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) อยู่ในระดับมาก This research aimed to study the effects of STEM Education approach on biology achievement, problem solving ability and instructional satisfaction of grade 11 students. The samples of the study were thirty-nine students studying in grade 11/1 at Demonstration School Prince of Songkla University, Muang District, Pattani Province, Thailand, in the second semester of the 2014. The samples were selected by simple random sampling. They were instructed through using STEM education approach learning for 18 hours. The research instruments consisted of a lesson plans designed based on the STEM education approach learning under the topic of reproduction of flowering plants and their growth, achievement test, problem solving ability test, instructional satisfaction test, the researcher’s field-note and interviews. The experimental research was conducted using one group through pretest-posttest design. The data was analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent group. The results were shown as follows. students learning by STEM education approach had the gain mean score 41.03% of the students were in primary level, 30.77% of the students were in medium level, 20.51% of the students were in high level and 7.69% of the students were in very high level. The students mean score of the post-test on biology achievement, problem solving ability was higher than the pre-test mean score at thesignificant level of .01 and students instructional satisfaction towards STEM education approach was high in all respects
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10625
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:270 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1218.pdf5.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น