กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10623
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้บทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการเขียนการกรอบแนวคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of Using Simulations Based on Constructivist to Enhance the Conceptual Framework Skill and Academic Achievement of Grade Five Students. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | คณิตา, นิจจรัลกุล ณัฐณิชา, รูบามา Faculty of Education (Educational Technology) คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา |
คำสำคัญ: | การจัดการเรียนการสอน;ดิจิทัล |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนสถานการณ์จำลองแบบ ดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการเขียนกรอบแนวคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาป/ที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัค ติวิสต์กับการสอนแบบปกติ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนทักษะการเขียนกรอบแนวคิดของผู้เรียนที่ เรียนด้วยบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์กับการสอนแบบปกติ และ (3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตาม แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ กลุ$ม (Cluster Random Sample) เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา 5 โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดนพวงศาราม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี กลุ$มทดลอง จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัค ติวิสต์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการเขียน กรอบแนวคิด และแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนสถานการณ์จำลอง แบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ เรียนด้วยบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (2) ผลคะแนนทักษะ การเขียนกรอบแนวคิดของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอน สตรัคติวิสต์สูงกว่าผลคะแนนทักษะการเขียนกรอบแนวคิดของผู้เรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ (3) ผลคะแนนระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน สถานการณ์จำลองแบบดิจิทัลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด This research aims at identifying the effects of using digital simulations based on constructivist to enhance the conceptual framework skill and academic achievement of grade 5 students. The effects break into three objectives; (1) to compare the student’s academic achievement between using instruction with digital simulations based on constructivist and traditional instruction, (2) to compare student’s conceptual framework skill score between using instruction with digital simulations based on constructivist and traditional instruction, and (3) the student’s satisfaction level toward the digital simulations based on constructivist. The sample groups are 60 grade 5 students from Municipal 4 School, Watnopawongsaram, Mueang, Pattani province. A group of 30 students is the control group and the other group of 30 students is the experimental group which were sampled by the cluster random sample. The research instruments are the digital simulations based on constructivist approach, lesson plan, academic achievement evaluation form, conceptual framework skill evaluation form, and satisfaction evaluation form. The result of the study: (1) the academic achievement of students educated with the digital simulations based on constructivist is significantly higher than the one educated with traditional instruction at the significant level of 0.05, (2) the score of conceptual framework skill of students educated with the digital simulations based on constructivist is also significantly higher than the one educated with traditional instruction at the significant level of 0.05, and (3) students educated with the digital simulations based on constructivist have a very high level of satisfaction toward the digital simulations based on constructivist. |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/10623 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 263 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1216.pdf | 7.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น