Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8604
Title: | การปรับปรุงพันธุ์ถั่วฝักยาวให้ต้านทานต่อการทำลายของแมลงศัตรู (ระยะที่ 2) |
Other Titles: | Improvement of yardlong bean for insect resistance |
Authors: | จรัสศรี นวลศรี ขวัญจิตร สันติประชา อรัญ งามผ่องใส Faculty of Natural Resources (Plant Science) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์ Faculty of Natural Resources (Pest Management) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช |
Keywords: | ถั่วฝักยาว การปรับปรุงพันธุ์;ถั่วฝักยาว ความต้านทานโรคและศัตรูพืช;ถั่วฝักยาว โรคและศัตรูพืช |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract(Thai): | โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ถั่วฝักยาวเพื่อให้ต้านทานต่อการเข้าทำลายของแมลง เป็นโครงการระยะยาว ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระยะ รายงานฉบับนี้เป็นการรายงานผลการวิจัยระยะที่ 2 รวม 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 ถึงเดือนกันยายน 2551 โดยแบ่งงานทดลองออกเป็น 3 ส่วน คือ การทดลองที่ I การปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีมาตรฐาน และศึกษาพันธุกรรมการต้านทานเพลี้ยอ่อนถั่ว โดยการผสมข้ามระหว่างพันธุ์คัด-ม.อ. กับพันธุ์ต้านทานเพลี้ยอ่อนถั่ว ได้แก่ SR00-863 IT82E-16 สุรนารี1 และพันธุ์เขาหินซ้อน ทำการผสมตัวเองลูก F1 และผสมกลับไปยังพันธุ์พ่อแม่ ปลูกทดสอบแต่ละคู่ผสม 6 กลุ่มประชากร ประกอบด้วยพันธุ์แม่ (P1) พันธุ์พ่อ (P2) ลูกผสมชั่วที่ (F1) ลูกผสมชั่วที่ 2 (F2) ลูกผสมกลับไปยังพันธุ์แม่ (BC1) และลูกผสมกลับไปยังพันธุ์พ่อ (BC2) ในโรงเรือนตาข่ายปิด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวนซ้ำไม่เท่ากัน ณ แปลงทดลองภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปล่อยเพลี้ยอ่อนถั่วจำนวน 5 ตัวต่อต้น ขณะที่พืชมีอายุ 3 สัปดาห์หลังปลูก เพื่อศึกษาจำนวนเพลี้ยอ่อนถั่ว และระดับความรุนแรงการเข้าทำลายในช่วง 6 สัปดาห์หลังปลูก (3 สัปดาห์หลังปล่อยเพลี้ยอ่อน) ผลการทดลองพบว่า ความรุนแรงการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนถั่วในลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) และลูกผสมกลับไปยังพันธุ์พ่อ (BC2) มีค่าใกล้เคียงกับพันธุ์ต้านทาน (พันธุ์พ่อ) ในทุกคู่ผสม อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนระหว่างต้นต้านทาน และต้นอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนถั่วในคู่ผสมพันธุ์คัค-ม.อ. x IT82E-16 เท่านั้น ที่มีอัตราส่วน 3 :1 และ 1 : 1 ตามลำดับ แสดงว่าการต้านทานเพลี้ยอ่อนถั่วในพันธุ์ IT82E-16 ถูกควบคุมด้วยยีนเพียงคู่เดียว และเป็นยีนเด่น ส่วนคู่ผสมอื่น ๆ ยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนมากกว่า สำหรับการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของชั่วรุ่นจากถั่วทั้ง 4 คู่ผสม พบว่า อิทธิพลของยีนแบบผลบวกมีบทบาทสำกัญในการควบคุมความแปรปรวนทางพันธุกรรมของจำนวนเพลี้ยอ่อนถั่ว และระดับความรุนแรงของการเข้าทำลายเฉพาะคู่ผสมคัด-ม.อ. x IT82E-16 เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบการทำงานของยีนแบบผลบวก ปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างยีนแบบผลบวกกับแบบผลบวกในลักษณะความรุนแรงการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนถั่วเฉพาะคู่ผสมคัด -ม.อ. x IT82E-16 ส่วนอัตราพันธุกรรมของลักษณะต้านทานเพลี้ยอ่อนถั่วใน 4 คู่ผสม พบว่า มีค่าระหว่าง 22.21 ถึง 55.94 เปอร์เซ็นต์ โดยคู่ผสมคัด-ม.อ. x IT82E--16 มีค่าอัตราพันธุกรรมสูงสุด การทดลองที่ II เป็นการคัคเลือกและปรับปรุงพันธุ์ถัวฝักยาวพันธ์ุคัด-มอ. โดยใช้รังสีเกมมาเป็นสิ่งก่อกลายพันธุ์ โดยนำเมล็ตถั่วฝักยาวพันธุ์คัด - ม.อ. ที่ผ่านฉายรังสีแกมมาในปริมาณต่าง ๆ กันคือ 25, 50, 75 และ 100 Krad ไปปลูกทดสอบ ทำการคัดเลือกต่อจากระยะที่ I (M4) จากลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ วันออกดอก ความยาวฝัก จำนวนฝักต้น ผลผลิตต้น และลักษณะผิดปกติที่เกิดขึ้น จนถึงชั่ว M7 สามารถคัดพันธ์ุได้จำนวน 3 พันธ์ุ ทำการทดสอบเบื้องต้น เปรียบเทียบผลผลิตของ ทั้ง 3 พันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือก โดยมีพันธุ์คัด-ม.อ. และพันธุ์สามชุกเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ จากผลการทดสอบพบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติของลักษณะต่าง ๆ ระหว่างพันธุ์ทั้งสามและพันธุ์เปรียบเทียบ ซึ่งจะทำการทดสอบผลผลิตเปรียบเทียบในพื้นที่ต่าง ๆ อีกครั้ง การทดลองที่ III เป็นการศึกษากลไกการต้านทานเพลี้ยอ่อนของถั่วฝักยาวและถั่วพุ่ม 4 สายพันธ์ุ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการดูดกินของเพลี้ยอ่อนถั่ว และลักษณะสัณฐานวิทยา ได้แก่ รูปร่าง ความขาวและความหนาแน่นของขนใต้ใบ ชั้นความหนาของเซลล์ผิวและสีใบจากผล การทดลองพบว่า ระยะเวลาในการดูดกินของเพลี้ยอ่อนถั่วบนพันธุ์คัด-ม.อ. ใช้เวลาชิมสั้นที่สุด รองลงมาได้แก่พันธุ์ SR00-863 เขาหินซ้อน สุรนารี และ IT82E-16 ตามลำดับ และระยะเวลาดูดกิน ใช้เวลาบนพันธุ์คัด ม.อ. นานที่สุด ผลการศึกษาลักษณะความยาวขนและความหนาแน่นของขนใต้ใบด้วยกล้องอิเล็คตรอนแบบส่องกราดของพื้นที่ใบ 1 ตารางเซนติเบตร พบลักษณะขน 2 แบบคือ ขนคล้ายกระบองและขนแบบเรียวแหลม โดยพบว่าขนใต้ใบ และความหนาแน่นของขน ในพันธุ์คัด-ม.อ. มีค่าต่ำที่สุด ส่วนพันธ์ุ IT82E-16 มีความยาวขน และความหนาแน่นมากที่สุด ความหนาของเซลล์ผิวลำต้นและใบของพันธุ์ IT82E-16 มีค่ามากที่สุด ส่วนสีใบ พบว่าสีใบของถั่วพันธุ์คัด-ม.อ. มีผลต่อการดึงดูดเพลี้ยอ่อนถั่วมากที่สุด โดยนับจากจำนวนเพลี้ยอ่อนที่ติดกับดัก ในขณะที่สีใบพันธ์ุ 1T82E-16 มีความดึงดูดเพลี้ยอ่อนถั่วน้อยที่สุด ผลการศึกษาปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียมและโปรตีน ต่อการดูดกินของเพลี้ยอ่อนถั่ว พบว่าพันธุ์คัด-ม.อ. มีเปอร์เซนต์โปแตสเซียมต่ำที่สุด ซึ่งธาตุอาหารดังกล่าวมีผลต่อการเสริมสร้างความทนทานของต้นพืชต่อการเข้าทำลายของแมลง |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8604 |
Appears in Collections: | 510 Research 535 Research |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
321331.pdf | 22.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License