กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8392
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการปลูกถ่ายยีนร่วมกับต้นอ่อนปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of gene transformation with somatic embryos of oil palm derived from tissue cukture
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมปอง เตชะโต
สุรีรัตน์ เย็นช้อน
ยุพาภรณ์ ศิริโสม
สุนทรียา กาละวงศ์
Faculty of Natural Resources (Plant Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพืชศาสตร์
คำสำคัญ: การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช;ปาล์มน้ำมัน
วันที่เผยแพร่: 2553
Abstract(Thai): การศึกษาถึงผลของปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพต่อการถ่ายยืนโดยใช้อะโกรแบคทีเรียม และเครื่องยิงอนุภาค พบว่า ความเข้มขันของชีโฟทาซึมที่สามารถยับยั้งการเจริญเดิบโตของเชื้ออะโกรแบคทีเรียม และส่งเสริมการเจริญ และพัฒนาการของเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสได้คือ 200 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเข้มข้นของสารปฏิชีวนะไฮโกรมัยชินที่เหมาะสมในการคัดเลือกเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสที่ได้รับการถ่ายยีนคือที่ระดับความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อลิตร สายเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงในการถ่ายยีนคือ สายเชื้อ AGL-1 ที่มีพลาสมิด pCAMBIA 1304 ซึ่งมียีน gus เป็นยีนรายงานผลยีน hptII เป็นยีนคัดเลือก และการใช้เอ็มบริโอเจนิคแคลลัสอายุ 4 สัปดาห์จุ่มแช่สารละลายเชื้ออะโกรแบคทีเรียมที่ปรับความหนาแน่นเชื้อที่ค่า OD600 เป็น 0.8 อินคูเบทนาน 6 ชั่วโมง ให้การแสดงออกของยีน gus สูงสุค ในกรณีการถ่ายยีนด้วยเครื่องยิงยีน พบว่า การเพาะเลี้ยงเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสปาล์มน้ำมันอายุ 4 สัปดาห์บนอาหารออสโมติคัมเป็นเวลา 16 ชั่วโมงก่อนการยิงยีน โดยกำหนดแรงดันสุญญากาศ -0.1 เมกะปาศคาล แรงดันก๊าซฮีเลียม 5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และปรับระยะห่างระหว่างหัวกระสุนและเป้าหมาย 10 เซนติมตร ให้การแสดงออกของยีน gus และแคลลัสที่ต้านทานต่อไฮโกรมัยชินสูงสุด เมื่อนำมาตรวจสอบการสดงออกของยีน gus และ hptII โดยเทคนิค PCR (Polymerase chain reaction) พบว่ามีการปรากฏของยีน gus ขนาค 441 คู่เบส และ hptII ขนาด 800 คู่เบส
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8392
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:510 Research

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
345672.pdf311.01 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons