Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8299
Title: การผลิตโคพอลิเมอร์จากน้ำเสียโรงงานแปรรูปอาหารทะเลโดยใช้เชื้อ Achromobacter sp. ที่แยกได้จากตะกอนเร่ง
Other Titles: Production of co-polymer from seafood processing industrial wastewater using achromobacter sp. isolated from activated sludge
Authors: ปิยะรัตน์ บุญแสวง
เบญจมาส เชียรศิลป์
Faculty of Agro-Industry (Industrial Biotechnology)
คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม
Keywords: โพลิเมอร์ผสม;น้ำเสีย;โรงงานแปรรูปอาหาร
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะที่หมาะสมต่อการผลิต Polyhydroxyalkanoate (PHA) จากน้ำเสียโรงงานอาหารทะเล โดยใช้แบคทีเรียที่แยกได้จากระบบเอสบีอาร์ จากการศึกษาองค์ประกอบของน้ำเสียจากถังสร้างกรดที่จะนำมาใช้ พบว่ามีปริมาณกรดและมีปริมาณซีโอดี เท่ากับ 207.46 และ 1,875 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ เมื่อทำการศึกษาการแยกและคัดเลือกเชื้อแบคทีเรียจากกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์จากระบบเอสบีอาร์ที่สามารถสะสม PHA ไว้ภายในเซลล์ โดยทดสอบการติดสีของ Sudan Black B พบว่าสามารถคัดเลือกเชื้อได้ 4 ไอโซเลท คือ PSU-I, PSU-M, PSU-V และ PSU-X หลังจากนั้นนำเชื้อที่ได้มาเทียบเคียงสายพันธุ์จุลินทรีย์ โดยใช้เทคนิค 16s rDNA พบว่า PSU-I และ PSU-M เทียบเคียงได้เป็น Achromobacter xylosoxidans และ Achromobacters sp. ตามลำดับ ส่วน PSU-I และ PSU-M เทียบเคียงได้เป็น Achromobacter baumannii จากนั้นจึงนำเชื้อทั้ง 4 ไอโซเลทมาเลี้ยงในน้ำเสียจากถังสร้างกรดของโรงงานอาหารทะเล ที่มีการเติมกรดโพรพิโอนิก 60 มิลลิโมลาร์ เป็นแหล่งคาร์บอน ด้วยความเร็วรอบ 200 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิห้อง (30+-2 องศาเซลเซียส) พบว่าเชื้อ A. xylosoxidans PSU-I และ Achromobacter sp. PSU-M ให้การผลิต PHA สูงสุด (0.45 และ 0.41 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ) แเละเมื่อทำการศึกษาการผสมเชื้อจุลินทริย์ พบว่าการเลี้ยงเชื้อผสมระหว่าง A. xylosoxidans PSU-I และ Achromobacter sp. PSU-M ให้การผลิต PHA สูงสุด (0.52 กรัมต่อลิตร) นอกจากนี้ยังพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการผลิต PHA คือ การเติมเชื้อเริ่มต้นที่ 10 % ในน้ำเสียที่เติมกรดวาลิริก 60 มิลลิโมลาร์ ซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อ และปรับพีเอชเริ่มต้นของอาหารเลี้ยงเชิ้อเป็น 7 บ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ให้อากาศในอัตรา 1.0 vvm ร่วมกับการกวนที่ 200 รอบต่อนาที พบว่า สามารถเจริญเและผลิต PHA ได้สูงสุดเท่ากับ 3.20 และ 2.29 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ คิดเป็น 71.5 % ชองปริมาณเซลล์ และจากการศึกษาการผลิต PHA แบบกึ่งต่อเนื่องของการเลี้ยงเชื้อผสมระหว่าง Achromobacer xylosoxidans PSU-I และ Achromobacter sp. PSU-M ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมเป็นเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำการถ่ายน้ำหมักออก 50 % และเติมอาหารใหม่ 50 % พบว่า หลักจากเปลี่ยนถ่ายอาหารใหม่ภายใน 48 ชั่วโมง (ชั่วโมงที่ 120) ปริมาณเซลล์และปริมาณ PHA เท่ากับ 3.20 และ 2.29 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ มีการสะสม PHA ภายในเซลล์ 72.7 % ของน้ำหนักเซลล์แห้ง โดยมีปริมาณเซลล์และ PHA ที่เท่ากับการเติมอาหารแบบครั้งเดียวแต่ใช้ระยะเวลาที่สั้นลง โดย PHA ที่ได้เป็นโคพอลิเมอร์ชนิด Polyhydroxybutytate-co-hydroxyvalerate (PHBV) มีสัดส่วนของ HB และ HV เท่ากับ 30.56 และ 69.44 % โมล
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8299
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/225201
Appears in Collections:853 Research

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
326857.pdf88.18 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons