กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7342
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ HPW บน SiO2, Al2O3 และ zeolite |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A comparative study of the catalytic oxidation of VOCs by 12 - tungstophosphoric acid (HPW) supported on SiO2, Al2O3 and zeolite การศึกษาเปรียบเทียบปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ HPW บน SiO2, Al2O3 และ zeolite : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การศึกษาเปรียบเทียบปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ HPW บน SiO2, Al2O3 และ zeolite รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การศึกษาเปรียบเทียบปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารอินทรีย์ระเหยง่ายด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ HPW บน SiO2, Al2O3 และ zeolite |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุกฤทธิรา รัตนวิไล Faculty of Engineering Chemical Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี |
คำสำคัญ: | สารประกอบอินทรีย์ระเหย ออกซิเดชั่น;ตัวเร่งปฏิกิริยา |
วันที่เผยแพร่: | 2549 |
Abstract(Thai): | ปัจจุบันอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีการปล่อยสารพิษออกสู่บรรยากาศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ มีการปล่อยสารพิษที่ประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นที่ต้องควบคุมการปล่อยสาร VOCs สู่บรรยากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการลดปริมาณสาร VOCs ด้วยวิธี Catalytic oxidation โดยแคตาลิสต์ทีใช้คือ 12-Tungstophosphoric acid (HPW) ที่มีตัว supporter 3 ชนิดที่แตกต่างกันคือ SiO2, Al2O3และ Zeolite โดยเตรียมที่ 0, 4%, 8%,12% HPW โดยน้ำหนัก สาร VOCs ที่ใช้ในการศึกษาคือ โทลูอีน โดยควบคุมความเข้มข้นของโทลูอีนในอากาศให้อยู่ในช่วง 300-1000 ppm. ที่อุณหภูมิดำเนินการ 200, 300 และ 400°C จากการศึกษาคัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ XRD, SEM และ FT-IR เพื่อยืนยันชนิดของสาร ดูการกระจายตัวของ HPW/SiO2, HPW/A12O3 และ HPW/Zeolite และหมู่ฟังก์ชันของตัวเร่งปฏิกิริยาพบว่าการเพิ่มขึ้นของเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของ HPW บน Supporter คือ SiO2 Al2O3 และ Zeolite สามารถยืนยันได้จากลักษณะทางกายภาพ โดยพบว่าเมื่อเปอร์เซ็นต์ การโหลด (% Loading) HPW บน Supporter ทุกชนิดสูงขึ้นจะพบปริมาณสาร HPW มากขึ้น ในการทดลองตัวเร่งปฏิกิริยา HPW/SiO2, HPW/Al2O3 และ HPW/Zeolite ในปฏิกิริยา Catalytic Oxidation พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาทั้ง 3 ชนิด เมื่อเพิ่มอุณหภูมิของ reactor สูงขึ้นในช่วง 200 - 400 °C ความสามารถในการกำจัดโทลูอีนในอากาศของตัวเร่งปฏิกิริยากีสูงขึ้นตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกฎของ Arrhennius โดยเรียงลำดับการกำจัดโทลูอีนในอากาศโดยดูจาก %Conversion ของโทลูอีนได้ ดังนี้คือ 12%HPW/SiO2 ที่อุณหภูมิ 400°C สามารถกำจัดโทลูอีนในอากาศไต้สูงที่สุคมี คือ 89% ตามด้วย 8% HPW/AljO3 ให้ค่า %conversion เท่ากับ 85% สุดท้ายคือ 12% HPW/Zeolite ให้ค่า %conversion ประมาณ 72% ซึ่งหากดูจากความสัมพันธ์ของพื้นที่ผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา และปริมาณของ HPW พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีพื้นที่ผิวสูงสุดและมีปริมาณของ HPW มากสุดให้ค่า%Conversion ของโทลูอีนสูงสุด ซึ่งพื้นที่ผิวและปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่สูงคาดว่ามีผลโดยตรงต่อการเกิด Oxidation Reaction โดยคำนึงถึงการปลดปล่อยออกซิเจนเพื่อใช้ในการทำ ปฏิกิริยาของตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7342 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/227905 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 230 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
326419.pdf | 7.09 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License