กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11814
ชื่อเรื่อง: นิเวศวิทยาทางอาหารของลูกปลากะรังดอกแดงวัยอ่อน (Epinephelus coioides) และลูกปลาชนิดอื่น ที่อาศัยร่วมกันบริเวณพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Feeding Ecology of Juvenile Orange-Spotted Grouper (Epinephelus coioides) and Other Co-Existing Juvenile Fish Species in Coastal Waters of the Lower Gulf of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: หะยีสาแม, ซุกรี
ช่วยเกื้อ, กาญจนาฏ
Faculty of Sciecnce and Technology (Technology and Industries)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม
คำสำคัญ: ปลากะรังดอกแดง;ชายฝั่งอ่าวไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การศึกษานิเวศวิทยาทางอาหารของลูกปลากะรังดอกแดงวัยอ่อน (Epinephelus coioides) และลูกปลาชนิดอื่นที่อาศัยร่วมกันบริเวณพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่แม่ปากน้ำเทพา จังหวัดสงขลา ถึงปากแม่น้ำ Kuala Besut รัฐ Terengganu ประเทศมาเลเซีย ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึง เดือนมีนาคม 2559 โดยใช้ซั้งล่อลูกปลา เพื่อศึกษาองค์ประกอบของอาหารในกระเพาะ พบว่า ชนิดอาหารที่พบในกระเพาะอาหารลูกปลาทั้ง 5 ชนิด คือ ลูกปลากะรังดอกแดง (Epinephelus coioides ลูกปลากะรังหางซ้อน (Epinephelus bleekeri) ลูกปลากะรังจุดฟ้า (Plectropomus leopards) ลูกปลาบู่จาก (Butis koilomatodons) และ ลูกปลากะพงข้างปาน (Lutjanus russelli) ที่อาศัยอยู่รวมกัน คือ shrimp amphipod ชนิด Elasmopus sp. Fish larvae และ Megalopa ค่าการเต็มกระเพาะของอาหารและจำนวนชนิดอาหารลูกปลาทั้ง 5 ชนิดกินนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.001) ระหว่างลูกปลาแต่ละชนิด การทับซ้อนของอาหารพบว่า ระหว่างปลา E. coioides และปลาอีกสามชนิด คือ P. leopardus B. koilomatodons L. russellii มีพฤติกรรมการเลือกกินอาหารที่ใกล้เคียงกันมาก ในขณะเดียวกัน ปลา E. coioides กับปลา E. bleekeri และ ปลา L. russellii กับปลา E. bleekeri มีพฤติกรรมการเลือกกินอาหารที่แตกต่างกัน องค์ประกอบของชนิดอาหารที่พบในกระเพาะปลากะรังดอกแดง เป็นสัตว์หน้าดิน ชนิดที่พบมากที่สุด คือ shrimp รองลงมา คือ amphipod ชนิด Grandidierella sp. และ Elasmopus sp. และ fish larvae เป็นอาหารชนิดเด่นในขณะที่ขนาดลูกปลา สถานี และเดือน มีอิทธิพลต่อค่าอาหารเต็มกระเพาะและจำนวนชนิดของอาหารในกระเพาะอาหารของลูกปลากะรังดอกแดง (P<0.001) พบว่า มีเพียงลูกปลาขนาดเล็กกว่า 2.00 เซนติเมตร และลูกปลาที่มีขนาดมากกว่า 3.01 เซนติเมตร เท่านั้นที่ไม่พบการทับซ้อนกันของอาหาร มีการจัดกลุ่มเดือนออกเป็นสองกลุ่ม ในเดือนธันวาคม ลูกปลาจะเลือกกินอาหารกลุ่มลูกปลาด้วยกันสูงกว่าเดือนอื่นๆ และพบว่าลูกปลาที่จับได้จากสถานีเทพา สายบุรี และ Kuala Besut จะเลือกกินอาหารที่มีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดลูกปลา และขนาดปาก มีอิทธพลต่อขนาดอาหารที่พบในกระเพาะอาหารลูกปลากะรังดอกแดง (P<0.05) ค่าการเลือกกินแสดงให้เห็นว่าลูกปลากะรังดอกแดงเลือกกินอาหารกลุ่ม amphipods โดยแนวโน้มการเลือกกินลดลงตามขนาดของปลาที่เพิ่มขึ้น มีแนวโน้มเลือกกิน shrimp และ fish larvae เพิ่มขึ้นตามขนาดของลูกปลาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ปลาจะเลือกกินอาหารที่มีขนาดเพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นตามขนาด การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นี้เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของระบบนิเวศบริเวณปากแม่ ที่มีต่อพฤติกรรมการให้อาหารของ E. coioides และลูกปลาชนิดอื่นที่มีอยู่ร่วมกัน และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการสภาพแวดล้อมของปากแม่น้ำและทรัพยากรการประมง Study on feeding ecology of juvenile orange spotted grouper (Epinephelus coioides) and juveniles of co-existing species has been done in coastal waters of lower part of the Gulf of Thailand from Thepa river mouth Songhkhla province to Kuala Besut river mouth, Terengganu, Malaysia during December 2015 and March 2016 collected by mean of fish aggregating devices (FADs) to investigate food composition in fish stomachs. It was found that shrimp, amphipod, fish larvae and megalopa were the five main food items found in the stomachs. Fullness index and number of food item were highly significantly different between these five fish species (P<0.001). Diet overlaps between E. coioides and P. leopardus, B. Koilomatodons and L. Russellii indicated that they consumed slightly similar suit of food items, whereas L. russellii and E. bleekeri fed on different food. Diet composition of E. coioides comprised of benthic organisms especially shrimp, amphipod (Grandidierella sp. and Elasmopus sp.) and fish larvae. Size of fish, study site and month of collection significantly affected fullness index and number of food items in fish stomach (P<0.001) For diet overlap, it was found that only fish smaller than 2.00 cm and 3.01 cm showed no overlapping between them. Based on regression analysis, it was found that fish size and mouth size significantly affected size of food found in the stomach of E. coioides (P<0.05). Result from food selectivity index indicated that they preferred to select Amphipods with the trend of decreasing towards fish size. This scientific finding is crucial information for an understanding of how the nursery role of estuary functions on feeding habits of E. coioides and other co-existing species and serves as basic information in managing both the estuarine environment and the fishery resources.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีการประมง))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11814
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:732 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1474.pdf3.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น