กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19639
ชื่อเรื่อง: The Effectiveness of Mobile Health Application on Dietary Behaviors in Patients with Coronary Artery Disease: A Systematic Review and Meta-Analysis
ชื่อเรื่องอื่นๆ: ประสิทธิผลของสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Charuwan Kritpracha
Usama Singhasem
Faculty of Nursing (Adult and Elderly Nursing)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: Systematic Review;mHealth;Application;Diet;Coronary Artery Disease
วันที่เผยแพร่: 2022
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: This systematic review aims to evaluate the effectiveness of mobile health application on dietary behaviors in patients with coronary artery disease. The randomized control trial and quasi-experimental studies, which investigated the effectiveness of mHealth application on dietary behaviors in patients with CAD, were selected for searching review materials in this study. Published and unpublished studies in Thai and English from 2012 to 2022 are included in this review. Eligible studies were critically appraised by two reviewers using the JBI critical appraisal instruments (Joanna Briggs Institute [JBI], 2017). Where possible, studies were pooled using meta-analysis. Where statistical pooling was not possible, the findings were presented in narrative form. The degree of certainty of the evidence on clinical outcomes was assessed using the GRADE approach. Systematic review registration number was CRD42022320586. The search identified 934 potential studies, only 20 studies met the inclusion criteria and finally 7 studies passed the criteria for critical appraisal assessment. Six studies could be analyzed by meta-analysis and one study for narrative summary. The result found that the mHealth application improved dietary behavior in patients with CAD, SMD 0.30, 95% CI 0.09 to 0.51, (p=.006) and found that there was a statistical significance between one to three months, SMD 0.30, 95% CI -0.01 to 0.53, (p=.059). The certainty of evidence for each outcome ranged from very low to moderate level. This systematic review suggested that mHealth application is one option for improving dietary behaviors in patients with CAD for the first three months. The limitation of this review is that the reviewer focused on only experimental studies (RCT and quasi-experimental studies). Further primary research may fill this gap or further review should clarify effectiveness of mHealth application on dietary behaviors in patients with CAD by looking at a larger number of studies.
Abstract(Thai): การทบทวนอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ได้คัดลือกการวิจัยการทดลองแบบสุ่ม (randomized controlled trial) และวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ที่ทดสอบผลของการใช้สมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การศึกษาที่เผยแพร่และไม่ได้เผยแพร่ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 2555 ถึง 2565 รวมอยู่ในการทบทวนนี้ การศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า (inclusion criteria) ได้รับการประเมินคุณภาพของการศึกษา (quality assessment) โดยผู้ตรวจสอบสองคนโดยใช้เครื่องมือการประเมินของ JBI (Joanna Briggs Institute [JBI], 2017) หากผลลัพธ์ของข้อมูลสามารถวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ได้ข้อมูลจะถูกรวบรวมเพื่อการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ในกรณีที่ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ ผลการวิเคราะห์จะถูกนำเสนอในรูปแบบบรรยาย (narrative synthesis) ผู้วิจัยใช้ระบบ GRADE ประเมินระดับคุณภาพของหลักฐานทางวิชาการ (certainty of evidence) หมายเลขทะเบียนโปรโตคอลของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้คือ CRD42022320586 ผลการศึกษาพบว่ามีการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 934 เรื่อง มีเพียง 20 เรื่องเท่านั้นที่เข้าเกณฑ์การคัดเลือก และมีเพียง 7 เรื่องที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า (inclusion criteria) และผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพของการศึกษา (quality assessment) การศึกษา 6 เรื่องสามารถวิเคราะห์ได้โดยการวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) และ 1 การศึกษาสำหรับการสรุปเชิงบรรยาย (narrative synthesis) ผลการวิจัยพบว่าสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันสามารถปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ SMD 0.30, 95% CI 0.09 ถึง 0.51, (p=.006) ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารในช่วง 3 เดือนแรกมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม SMD 0.30, 95% CI -0.01 ถึง 0.53, (p=.059) ระดับคุณภาพของหลักฐานทางวิชาการ (certainty of evidence) สำหรับผลลัพธ์แต่ละรายการมีตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับปานกลาง การทบทวนอย่างเป็นระบบนี้ชี้ให้เห็นว่าสมาร์ทโฟนแอปพลิเคชันเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจในช่วงสามเดือนแรก ข้อจำกัดของการทบทวนครั้งนี้ คือ ผู้ทบทวนเน้นเฉพาะการศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและการศึกษากึ่งทดลอง การวิจัยปฐมภูมิ (primary research) ในอนาคตอาจศึกษารูปแบบการศึกษาวิจัยแบบอื่นเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มจำนวนการศึกษาที่คัดเข้าเพื่อเพิ่มระดับคุณภาพของหลักฐานต่อไป
รายละเอียด: Master of Nursing Science (Adult and Gerontologocal Nursing (International Program))
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19639
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:646 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6310430042.pdfนางสาวอุษมา สิงหเสม 6310420042 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (นานาชาติ)2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons