Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19617
Title: รูปแบบการส่งเสริมพลังครอบครัวและชุมชนในการดูแลเด็กและวัยรุ่นออทิสติกในจังหวัดชายแดนใต้
Other Titles: Models of promotion to family and community empowerment for caring the children and adolescents with autism in five southern border provinces
Authors: พาตีเมาะ นิมา
Faculty of Education (Psychology and Counseling)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
Keywords: ครอบครัว;การดูแลเด็ก
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract(Thai): รูปแบบการส่งเสริมพลังครอบครัวและชุมชนในการดูแลเด็กและวัยรุ่นออทิสติกในห้าจังหวัดชายแดนใต้ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้นโยบายห้องเรียนฝึกอาชีพคู่ขนานสำหรับวัยรุ่นพิการและออทิสติกในวิทยาลัยการอาชีพในห้าจังหวัดชายแดนใต้ พัฒนานวัตกรรมจากพลังครอบครัวที่มีต่อพัฒนาการและสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่นออทิสติก และประเมินสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่นออทิสติกในจังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูจากโรงเรียนศึกษาพิเศษเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์การศึกษาพิเศษ อาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน และโรงเรียนคู่ขนานระดับประถมศึกษาในจังหวัดยะลา จำนวน 180 คน ผู้ปกครองและผู้พิการในชมรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงชลา และสตูล จำนวน 100 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณคือผู้ปกครองและบุคคลออทิสติกในชมรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 200 คน และตัวแทนจากภาคประชาสังคม จำนวน 100 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 18 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ประเด็นคำถามความเป็นไปได้ในการใช้นโยบายห้องเรียนฝึกอาชีพคู่ขนานสำหรับวัยรุ่นพิการและออทิสติกในวิทยาลัยการอาชีพในห้าจังหวัดชายแดนใต้ การสนทนากลุ่มและปฎิบัตการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรม และเชิงปริมาณ คือ แบบประเมินสุขภาพจิตของบุคคลออทิสติก มีค่าความเที่ยง Alpha’s Cronbach เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการส่งเสริมพลังครอบครัวและชุมชนในการดูแลเด็กและวัยรุ่นออทิสติกในห้าจังหวัดชายแดนใต้ ครูส่วนใหญ่มีความคิดเห็นพ้องกันในความจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีพแก่ผู้พิการทุกประเภทไม่เฉพาะแต่บุคคลออทิสติกที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองให้เพียงพอที่จะสร้างอาชีพพึ่งตนเองได้ในอนาคต โดยการจัดห้องเรียนฝึกอาชีพคู่ขนานสำหรับวัยรุ่นพิการในวิทยาลัยการอาชีพในห้าจังหวัดชายแดนใต้ จึงจัดทำหลักสูตรระยะสั้นห้องเรียนคู่ขนานสำหรับผู้พิการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอาชีวศึกษาและวิทยาลัยชุมชน ประกอบด้วย 6 หลักสูตร คือ หลักสูตรคอมพิวเตอร์ หลักสูตรงานประดิษฐ์ของใช้จากผ้า หลักสูตรจัดช่อดอกไม้แสดงความยินดี หลักสูตรนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ หลักสูตรขนมไทย และหลักสูตรสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ เพื่อเป็นหลักสูตรการเตรียมความพร้อมของผู้พิการทั้งในและนอกระบบการศึกษาที่จบการศึกษาในระดับมัธยมปีที่ 3 หรือเทียบโอนหน่วยกิตการเรียนก่อนเข้าสู่การศึกษาในระดับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และสำหรับเป็นทางเลือกของการทำอาชีพบำบัดได้ด้วย ผู้ปกครองบุคคลออทิสติกในชมรม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความคิดเห็นว่า ต้องพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติกเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม โดยพัฒนานวัตกรรม 5 รูปแบบ คือ 1) ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดปัตตานีพัฒนานวัตกรรมเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก (Thai-APDA) 2) จังหวัดสงขลาพัฒนานวัตกรรมเป็น E-book: Social Story เรื่องไปเซเว่นสำหรับลูกออทิสติก เพื่อฝึกทักษะการรอคอยและพัฒนาทักษะการเลือกซื้อของ 3) จังหวัดยะลาพัฒนานวัตกรรมเป็นหมากขุมประเทืองปัญญา เพื่อพัฒนาสมาธิลูกออทิสติก 4) จังหวัดนราธิวาสพัฒนานวัตกรรมเป็น Buku Saya คำวิเศษชวนน้องออทิสติกคุยกัน และ 5) จังหวัดสตูลพัฒนานวัตกรรมเป็นการทำเกษตรผสมผสานบนกระเบื้อง เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ลูกออทิสติกและฝึกทักษะทางสังคม ปัญหาสุขภาพจิตที่พบในเด็กและวัยรุ่นออทิสติกมากที่สุดร้อยละ 43.30 มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ รองลงร้อยละ 29.90 ปัญหาด้านความรู้สึกกังวล มีปมด้อยอย่างรุนแรงสม่ำเสมอ ร้อยละ 18.85 ปัญหาการปลีกตัวออกจากสังคม อันมีผลต่อการเรียน ร้อยละ 7.37 มีพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อกวนเป็นอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่น และร้อยละ 7.02 ปัญหาการปรับตัวทางสังคมไม่ถูกต้อง มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ตามลำดับ
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19617
Appears in Collections:286 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.