Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19614
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชาคร ประพรหม-
dc.contributor.authorเจษฎา ไหลภาภรณ์-
dc.date.accessioned2024-12-26T03:51:52Z-
dc.date.available2024-12-26T03:51:52Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://tnrr.nriis.go.th/#/research/1037997-
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์สมุนไพรen_US
dc.subjectแพทย์แผนโบราณen_US
dc.subjectTraditional medicineen_US
dc.titleแบบจำลองสมการโครงสร้างวิเคราะห์การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลาen_US
dc.title.alternativeThe structural equation model analyzing the expenditure of tourists on herbal wellness tourism goods and services in Betong district, Yala provinceen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.contributor.departmentFaculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences)-
dc.contributor.departmentคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์-
dc.description.abstract-thปัจจุบันนักท่องเที่ยวให้ความสนใจกับการดูแลรักษาสุขภาพมากยิ่งขึ้น จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยที่มีจุดแข็งในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความโดดเด่นและหลากหลาย ทาให้ผลิตภัณฑ์และบริการสมุนไพรเชิงสุขภาพของประเทศไทยเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ซึ่งอาเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่มีความผลิตภัณฑ์และบริการสมุนไพรเชิงสุขภาพที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว สามารถนาไปสู่การพัฒนาได้โดยการส่งเสริมและผลักดันจากภาครัฐ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน อันนาไปสู่โครงการเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG Economy วิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาทางด้านอุปสงค์ สนใจศึกษาการใช้จ่ายในสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในพื้นที่ รวมถึงปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในพื้นที่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาการใช้จ่ายเพื่อสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ของนักท่องเที่ยวในพื้นที่อาเภอเบตง จังหวัดยะลา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและผลกระทบจากปัจจัยที่มีต่อการใช้จ่ายในสินค้าและบริการท่องเที่ยวเชิงสมุนไพรเพื่อสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่อาเภอเบตง จังหวัดยะลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 ราย เลือกเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่มีกาลังซื้อสินค้าและบริการสมุนไพรเพื่อสุขภาพ และเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2565 และนามาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยแบบจาลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model) ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวไทยใช้จ่ายโดยเฉลี่ยมากที่สุดในผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นอาหาร เท่ากับ 701.27 บาทต่อทริป ในขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติใช้จ่ายโดยเฉลี่ยมากที่สุด ในการซื้อบริการท่องเที่ยวจากสมุนไพร เท่ากับ 738.97 บาทต่อทริป ส่วนผลิตภัณฑ์ที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมซื้อ คือ น้ามันเหลือง น้ามันนวด ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมใช้บริการแช่เท้าด้วยสมุนไพร นอกจากนี้ โอกาสในการซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอิทธิพลแตกต่างกัน โดยปัจจัยที่สาคัญ ประกอบด้วย ราคาของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ แรงจูงใจต่อผลิตภัณฑ์ อิทธิพลทางความเชื่อ อิทธิพลทางสังคม การลดราคาและมีของแถม การสาธิตและการให้ทดลองใช้ คุณลักษณะของแหล่งจาหน่าย การเคยมาเยี่ยมเยืยม การนับถือศาสนา สัญชาติ และอายุ เป็นต้น ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์สมุนไพรของอาเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวมากขึ้น เพื่อให้ต้นแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพร สามารถนามาขยายผลในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:427 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.