กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19610
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตไฟฟ้าชีวมวล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Study of Factors Affecting to Safety Behavior of Production Employees in a Biomass Electricity Generating Company
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสกสรร สุธรรมานนท์
วุฒิชัย จีรธนวัฒน์
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คำสำคัญ: พฤติกรรมความปลอดภัย;ความปลอดภัยของพนักงาน;โรงไฟฟ้าชีวมวล
วันที่เผยแพร่: 2024
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The research aims to study of factors affecting to safety behavior of production employees in a biomass electricity generating company and create an action plan to reinforce employees safety behavior. The sample group consisted of 52 production employees at a biomass power plant in Chana, Songkhla Province. A questionnaire was used as a research tool. The analysis of general data of respondents used percentage, mean, standard deviation. The analysis of factors affecting to safety behavior of employees used multiple regression statistics at the significance level of 0.05. The analysis of difference between the mean values of Safety behavior of employees used One way ANOVA at the significance level of 0.05. The research results found that Most production employees are 41 years of age or older, education is at bachelor's degree, the job position is a loader driver and working period is 0-2 years. The opinions regarding safety enhancing factors including education at highest level, enforcement at high level and engineering at high level. The opinions regarding safety behavior in the workplace including Management at high level, environment in workplace at high level, operation at high level and using of tools machine and equipment at high level. The results of hypothesis test revealed that different educational level, job position, and Year of service caused significant difference in work safety behavior at 0.05. The factors that enhance work safety affect safety behavior significant 0.05 is the engineering (β=0.395). Factors enhance work safety do not affect safety behavior are educational (β=0.030)&Enforcement (β=0.287). Implementation of safety behavior enhancement guidelines: a project to design machinery in the production process to be safe by moving the installation point of the machine control cabinet to an appropriate point. The comparative results before and after the operation, before the operation, there were an average of 2 accidents/3 months and after the operation, there were an average of 0 accidents/3 months.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานฝ่ายผลิตในบริษัทผลิตไฟฟ้าชีวมวลและจัดทำแผนปฏิบัติในการเสริมสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นพนักงานฝ่ายผลิตในโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งหนึ่งในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จำนวน 52 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย ซึ่งผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ในการหาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียว (Oneway ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า พนักงงานฝ่ายผลิตส่วนใหญ่ มีอายุ 41 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาอยู่ที่ปริญญาตรี มีตำแหน่งงาน คือ พนักงานขับรถตัก และมีอายุงาน 0-2 ปี ซึ่งมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัย ด้านการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการออกกฎข้อบังคับ อยู่ในระดับมาก และด้านวิศวกรรมศาสตร์ อยู่ในระดับมาก ส่วนพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานด้านการจัดการ อยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน อยู่ในระดับมาก ด้านการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก และด้านการใช้เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และอายุงาน ที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 และปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 คือ ปัจจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ (β=0.395) และปัจจัยเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงานที่ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัย คือ ปัจจัยด้านการศึกษา (β=0.030)และปัจจัยด้านการออกกฎข้อบังคับ(β=0.287) การดำเนินการแนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย คือ โครงการออกแบบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตให้มีความปลอดภัย โดยการย้ายจุดติดตั้งตู้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรไปยังจุดที่เหมาะสม ผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการดำเนินการ ซี่งก่อนการดำเนินการมีอุบัติเหตุเฉลี่ย 2ครั้ง/3เดือน และหลังการดำเนินการมีอุบัติเหตุเฉลี่ย 0ครั้ง/3เดือน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (การจัดการอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2567
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19610
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:228 Minor Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6510121010.pdf1.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons