Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐิติวร ชูสง-
dc.contributor.authorสุริชัย บิลฮีม-
dc.date.accessioned2024-07-26T09:24:39Z-
dc.date.available2024-07-26T09:24:39Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19601-
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (อาชีวเวชศาสตร์), 2562en_US
dc.description.abstractIntroduction: Disease situations have specific attributed in each area and do not occur randomly. Physical and biological characteristics in each area are the factors of spatial epidemiology whereas respiratory symptoms are mainly caused by climate change and air pollution. For instance, asthma is abnormally health condition resulting in allergenic substance reactions and pollution. There were no study on epidemiology to determine spatial, temporal and personal distributions. These are resulted in policy planning, prevention and control in order to take care of human health in the community. Objectives: 1) To examine trends of seasonal changes among asthma outpatients caused by air pollution and meteorological factors. 2) To study the association of asthma outpatients and level of air pollutant contact. 3) To create epidemiological map displaying spatial distribution of asthma patients morbidity rate. Methodology: Spatio-temporal analysis was used to analyze secondary data, from 1 January 2013 to 31 December 2018, of patients in Thailand who are diagnosed as asthma in all sexes and ages and admitted as outpatients in government health care agencies, in charged by Songkhla Provincial Public Health Office. The data were collected from 43 databases of Health Data Center (HDC). Air pollutant data were collected from Ambient Air Quality Monitoring Mobile Unit, Pollution Control Department. The data were analyzed based on Time-series Analysis using Poisson Regression with Generalized Additive model (GAM) and Distributed lag non-linear models (DLNMs) as statistical methods. Results: The overall results showed that 250,127 diagnosed as asthma from 36,761 patients was 448.86 of morbidity rate per 10,000 population. The majority of asthma patients were female (61.1%) which was 529.97 of morbidity rate per 10,000 population. The asthma tended to rapidly increase among children and continuously increase among elderly. The result also showed that the asthma tended to increase distinctly when seasonal changes due to changing of atmosphere and a high humidity, that is, in early of June and the end of raining season in December. GAM was employed to analyze associations between six air pollutants (namely CO, NO2, SO2, O3, PM10 and PM2.5) and daily asthma visits after adjusting confounding i.e. meteorological factors, time, day of the week effects and number of population. In year 2015-2017, the overall asthma visits was increased when air pollutant concentration increase in every 10% ranging from 0.99% (CO at lag 1), 0.95% (NO2 at lag 3), 0.37% (SO2 at lag 1), 0.59% (O3 at lag 0), 2.06% (PM10 at lag 1) and 2.03% (PM2.5 at lag 0) in the Model 3. DLNMs results also suggested that a heterogeneity of the health effects across different populations. There was a significant associations between children under 20 years old group and a lag of 9-14 days during 2015-2017. Multiple regression analysis also reccomended that CO is the highest risk of asthma-patients in the entire population. In addition, the finding of spatial epidemiology illustrated the risk rate at district level showing that the morbidity rate of asthma is higher, especially in Mueang and Hatyai Districts while Saba Yoi District is the lowest. The result also explained the movement across the time period revealing morbidity rate of asthma and the risk of asthma occurrence still increase the same areas. The morbidity rate in high risk areas was 550 to 650 per 10,000 population. Conclusion: This present study showing that asthma patients had high asthmatic attacks caused by high humidity of the weather. Relative humidity and dew point were significant factors of asthma attack. In addition, CO was the significantly highest impacts of visit to health-care facilities among all asthma-patients. In order to reduce and protect human health effects, a humidity controller should be set up in a building. Public health policies should be created for children, women and elderly who were the high risk group to guard from air pollution exposure.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectหืด ผู้ป่วย สงขลาen_US
dc.subjectหืด การป้องกันและควบคุมen_US
dc.titleการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพื้นที่และเวลาของการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหืดกับปัจจัยสภาพภูมิอากาศและมิลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลในจังหวัดสงขลาen_US
dc.title.alternativeThe Spatio-temporal Epidemiology of Asthma Patient Visits in Relation to Meteorological Parameters and Air Pollution Factors as a Result of Seasonal Change in Songkhla Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Medicine (Biomedical Sciences)-
dc.contributor.departmentคณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาชีวเวชศาสตร์-
dc.description.abstract-thบทนํา สถานการณ์โรคมีลักษณะเฉพาะในแต่ละพื้นที่ และไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือโดยสุ่ม ลักษณะทางกายภาพและชีวภาพในแต่ละพื้นที่เป็นตัวกําหนดให้การเกิดโรคมีลักษณะเป็น กลุ่มก้อนระบาดวิทยาภูมิศาสตร์ในขณะที่กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเหตุจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศและมลพิษทางอากาศที่สําคัญ ได้แก่ โรคหืด เป็นสภาวะผิดปกติด้านสุขภาพ มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาทาง ระบาดวิทยาเพื่อระบุลักษณะการกระจายตัวเชิงพื้นที่ (Spatial) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา (Temporal) และบุคคล (Personal) ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการวางแผนป้องกันและควบคุมโรค เชิงนโยบายในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป วัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลระหว่างจํานวนผู้ป่วย นอกที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหืดกับปัจจัยทางมลพิษอากาศและปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนผู้ป่วยนอกที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหืดกับการสัมผัสระดับสาร มลพิษอากาศ 3) สร้างแผนที่ทางระบาดวิทยาแสดงการกระจายทางภูมิศาสตร์ของอัตราป่วยโรคหืด วิธีการศึกษา ใช้การศึกษาระบาดวิทยาแบบ Spatio-temporal analysis จากข้อมูลทุติยภูมิ ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 สําหรับข้อมูลผู้ป่วย ในประชากรชาวไทยที่ได้รับการวินัจโรคหืดในทุกเพศและทุกอายุ ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอกใน หน่วยงานบริการสุขภาพภาครัฐ ในเขตรับผิดชอบของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา จากฐานข้อมูลสุขภาพ 43 แฟ้ม (HDC) และข้อมูลปริมาณความเข้มข้นสารมลพิษอากาศ จากสถานี ตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบถาวรอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ และข้อมูลสภาพภูมิอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลนี้เป็นแบบ Time-series Analysis วิธีการทางสถิติที่ใช้คือ Poisson Regression with Generalized Additive model (GAM) a Distributed lag non- Linear models (DLNMs) ผลการศึกษา ในภาพรวม พบว่ามีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดจํานวน 250,127 ครั้ง จากจํานวนผู้ป่วย 36,761 คน คิดเป็นอัตราป่วย 448.86 ต่อประชากรหมื่นคน ซึ่งกลุ่มประชากรใน ผู้ป่วยโรคหืดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.1 และอัตราป่วย เท่ากับ 529.97 ต่อประชากรหมื่น คน ในขณะที่โรคหืดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประชากรวัยเด็ก และเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประชากรวัยสูงอายุ นอกจากนี้พบว่าสถานการณ์ของโรคหืดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในช่วง เปลี่ยนผ่านฤดูคือ ช่วงต้นฤดูฝนในเดือนมิถุนายน และปลายฤดูฝนในเดือนธันวาคม และจาก การศึกษา GAM เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศหกชนิด (ได้แก่ CO, NO2, SO2, O3, PM10 และ PM2.5) และการเข้ารับการรักษาผู้ป่วยโรคหืดรายวันหลังจากควบคุมปัจจัยกวนทาง อุตุนิยมวิทยา จํานวนวันที่ศึกษา วันของสัปดาห์ และจํานวนประชากร ผลการศึกษาในช่วง พ.ศ. 2558-2560 พบว่า การเพิ่มขึ้นโดยประมาณของการเข้ารับการรักษาผู้ป่วยโรคหืดโดยรวมมี ความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นทุก 10% ในแต่ละครั้งอยู่ที่ 0.99% (CO ที่ tag 1), 0.95% (NO2 ที่ lag 3), 0.37% (SO2 ที่ tag 1), 0.59% (O3 ที่ lag 0) and 2.06% (PM10 ที่ lag 1) ใน Model 3 และผลลัพธ์ของ DLNMs ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของผลกระทบต่อสุขภาพ ที่แตกต่างกันในประชากรที่แตกต่างกัน และเด็กอายุต่ํากว่า 20 ปี เป็นประชากรหลักในการกําเริบ ของโรคหืด เช่น ผลการศึกษาในช่วง พ.ศ. 2558-2560 แสดงให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของก๊าซ CO ก่อให้เกิดอาการอย่างมีนัยสําคัญหลังสัมผัส 9 - 14 วัน ในขณะที่ผลการศึกษาการถดถอยพหุคูณ พบว่า ก๊าซ CO มีอิทธิพลสูงสุดต่ออัตราความเสี่ยงสําหรับการเข้ารักษาของโรคหืดในทุกกลุ่ม ประชากร นอกจากนี้ผลการศึกษาทางระบาดวิทยาภูมิศาสตร์ แสดงให้เห็นภาพอัตราความเสี่ยงระดับ อําเภอระบุว่าเขตที่มีอัตราการป่วยของโรคหืดสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งอําเภอเมืองสงขลาและอําเภอ หาดใหญ่ ในขณะที่อําเภอสะบ้าย้อย มีความเสี่ยงต่ํามาก และจากการแสดงผลการเคลื่อนไหวข้าม ช่วงเวลาทําให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของอัตราป่วยโรคหืดที่เพิ่มขึ้นและยังคงความเสี่ยงต่อการเกิดโรค สูงในพื้นที่เดิม สําหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืดสูงมีค่าอัตราป่วยระหว่าง 550 ถึง 650 ต่อ ประชากรหมื่นคน สรุปผลการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยโรคหืดจะมีอาการจับหืด (Asthmatic Attack) มากขึ้นในช่วงที่สภาพอากาศมีปริมาณความชื้นในบรรยากาศสูง โดยพบว่า ความชื้นสัมพัทธ์ และจุดน้ําค้าง มีบทบาทสําคัญในการกําเริบของโรคหืด นอกจากนี้การสัมผัสกับ มลพิษทางอากาศ พบว่า ก๊าซ CO ส่งผลกระทบสูงสุดอย่างมีนัยสําคัญต่อการเข้ารับการรักษาโรคหืด ในทุกกลุ่มประชากร ดังนั้นเพื่อที่จะลดผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ควรติดตั้งเครื่องควบคุม ความชื้นภายในอาคารและควรมีนโยบายสาธารณสุขเพื่อปกป้องเด็ก สตรี และผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่ม เสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศen_US
Appears in Collections:373 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435282.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons