Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19590
Title: | การผลิตโฟมยางธรรมชาติโดยใช้ไมโครบับเบิล |
Other Titles: | Natural Latex Foam Production via Microbubbles |
Authors: | มัทนา ฆังคะมโณ สานิตย์ ศิริกุลชัยกิจ Faculty of Engineering Mining and Materials Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และโลหะวิทยา |
Keywords: | โฟมยางธรรมชาติ การผลิต |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Dunlop and Talalay are well-known methods for natural rubber latex foam production. In Thailand, Dunlop process is mainly used for the manufacture of thick- molded latex foam products such as pillows, cushions, and mattresses, while Talalay is not popular due to complicated and expensive method. Nevertheless, the products produced from Talalay technique show better flexibility and mechanical properties than Donlop products. This is because they have better cell structure and pore-size distribution as compared to the Dunlop ones. Microbubbles are widely used in many applications such as wastewater treatment, fish farming, and particle size separation. However, up to date, there is no application in the field of latex foam production. In this research, therefore, microbubbles are applied to fabricate natural rubber foams by flowing air through a porous diffuser with different flow rates. The effects of diffuser's pore size (P2, P3, P4) and air flow rate (20, 50, 100 ml/min) on microstructure and physical properties of the as-prepared rubber foams were investigated in comparison with those of the Dunlop foams. The results show that air microbubbles could be effectively used to fabricated natural latex foam with an exceptional microstructure of spherical cell shape with crack-free interconnected network structure. In contrast, Dunlop foams provided irregular cell shape with partially interconnected network and non-uniform cell size distribution. Pore size of the diffuser and the flow rate affected strongly cell size of the bubbled foams and hence physical properties of the foams. Large pore size of the diffuser led to a large cell size of the foam. Similarly, the cell size increased significantly with the increased air flow rate. Density of the bubbled foams decreased with the increased flow rates. The compression set percentage decreased with the decreased flow rate. The hardness index pointed out that all the bubbled foams produced were classified as a soft latex with a value of less than 100 newtons. |
Abstract(Thai): | ปัจจุบันโฟมยางธรรมชาติผลิตจากสองกระบวนการหลัก คือ ดันลอป และ ทาลาเลย์ สําหรับ ประเทศไทยจะใช้กระบวนการดันลอปในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โฟมยาง เช่น หมอน หมอนอิง และที่นอน ในขณะที่กระบวนการทาลาเลย์ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากเป็นวิธีที่ซับซ้อนและมีราคาแพง อย่างไรก็ ตามผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการทาลาเลย์มีความยืดหยุ่นและสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการดันลอป ซึ่งเป็นเพราะว่ามีโครงสร้างของเซลล์และการกระจายตัวของรูพรุนที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโฟมยางจากกระบวนการดันลอป ไมโครบับเบิลหรือฟองก๊าซขนาดเล็ก ได้ถูกนํามาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การบําบัดน้ําเสีย การเพาะเลี้ยงปลา และ การคัดแยกขนาดอนุภาค เป็นต้น แต่ยังไม่พบการใช้งานทางด้าน อุตสากรรมการยาง งานวิจัยนี้จึงได้ทําการศึกษาการเตรียมโฟมยางธรรมชาติจากฟองอากาศขนาด เล็ก ซึ่งสามารถขึ้นรูปโฟมยางได้โดยการให้อากาศไหลผ่านแผ่นกรองดิฟฟิวเซอร์แล้วผ่านน้ํายาง คอมปาวด์ที่บรรจุอยู่ในบับเบิลคอลัมน์เพื่อทําให้เกิดฟองอยู่ในคอลัมน์ ศึกษาผลของขนาดรูพรุน ดิฟฟิวเซอร์ (40-100 ไมครอน: P2) (16-40 ไมครอน: P3) และ (10-16 ไมครอน: P4) ต่อการขึ้นรูป โฟมยาง และศึกษาผลของอัตราการไหลขาเข้าของอากาศที่ 20 50 และ 100 มิลลิลิตรต่อนาทีต่อสมบัติทางกายภาพของโฟมยางเปรียบเทียบกับโฟมยางที่ขึ้นรูปด้วยกระบวนการดันลอป (ดันลอปโฟม) พบว่า โฟมยางที่เตรียมจากไมโครบับเบิล (บับเบิลโฟม) จะมีขนาดเซลล์ที่ใหญ่ขึ้นตาม ขนาดของรูพรุนดิฟฟิวเซอร์ที่เพิ่มขึ้น หรือตามอัตราการไหลของอากาศขาเข้าที่เพิ่มขึ้น ลักษณะของ เซลล์ภายในโฟมยางดังกล่าวมีลักษณะเป็นทรงกลม มีการกระจายตัวสม่ําเสมอและมีการเชื่อมต่อของ เซลล์แบบต่อเนื่อง ในขณะที่ดันลอปโฟม เซลล์เกิดการ ฉีกขาด การเชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์ไม่ดี และการกระจายตัวไม่สม่ําเสมอ ค่าความหนาแน่นของ ดันลอปโฟม มีค่าสูงกว่าบับเบิลโฟมที่ทุก ๆ อัตราการไหล โดยค่าความหนาแน่นของบับเบิลโฟม สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยการปรับอัตราการไหลเนื่องจากค่าความหนาแน่นของบับเบิลโฟมลดลงตามอัตราการไหลของอากาศที่เพิ่มขึ้น ค่าการยุบตัว เนื่องจากแรงกดของบับเบิลโฟมจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามอัตราการไหลของอากาศที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และ เมื่อเปรียบเทียบกับดันลอปโฟม พบว่าค่าการยุบตัวเนื่องจากแรงกดของบับเบิลโฟม มีค่าเปอร์เซ็นต์ การยุบตัวน้อยกว่า ซึ่งบ่งบอกถึงการยืดหยุ่นที่ดีของบับเบิลโฟม นอกจากนี้ค่าดัชนีความแข็งเชิงกด ของบับเบิลโฟมบ่งบอกว่าโฟมยางที่ผลิตได้ที่ทุกอัตราการไหล เป็นโฟมยางประเภทนิ่มเนื่องจากค่า ดัชนีความแข็งเชิงกดไม่เกิน 100 นิวตัน เช่นเดียวกันกับดันลอปโฟม |
Description: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมวัสดุ), 2019 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19590 |
Appears in Collections: | 235 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
437829.pdf | 3.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License