Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19570
Title: สถานะสารหนูและการใช้ทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟตลดความเป็นพิษของสารหนูในดินปลูกข้าว จากอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Status of Arsenic and Application of Triple Superphosphate to Alleviate Arsenic Toxicity in Rice Growing Soil from Ronphibun District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: ขวัญตา ขาวมี
จิราภรณ์ แก้วล่องลอย
Faculty of Natural Resources (Earth Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาธรณีศาสตร์
Keywords: ดิน ปริมาณสารหนู ร่อนพิบูลย์ (นครศรีธรรมราช);การกำจัดสารปนเปื้อนในดิน ร่อนพิบูลย์ (นครศรีธรรมราช)
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Ronphibun District, Nakhon Si Thammarat Province, was tin mining area and resulted in arsenic (As) contamination in soils. Soil properties and distance from As source on As fractionation were studied. Soil samples from 23 areas at 0.5 to 6.0 km from As source were collected. Soil properties and As fractionations were determined. Moreover, the study was aimed to investigate the effect of phosphate fertilizer on growth, As and nutrient uptake of rice. The different levels of phosphate were added to soil with different levels of As. Soil had high total As concentration when compared with critical level of As in agricultural soil in Thailand. Arsenic fractionations in topsoil were mostly partitioned in the amorphous and poorly-crystalline hydrous oxides of Fe and Al fraction and non-specifically adsorbed fraction was the lowest. Moreover, high correlation between sum of non- specifically and specifically adsorbed with specifically adsorbed fraction (r=0.997**) was found and correlation between of non-specifically and specifically adsorbed fractions with some soil properties such as organic matter, total N and available P were found. Whereas, total As, non-specifically and specifically adsorbed fractions decreased with increasing distance from As source. The results indicated that As fractions as potential release to the environment had high. The soil with high As concentration (20 mg kg1) showed As toxicity symptom in rice during tillering stage and rice was dead before the harvesting stage but in the soil with low As concentration (10 mg kg1) showed As toxicity symptom in rice during panicle initiative stage. Application of phosphate fertilizer in soil with high As concentration did not alleviate As toxicity in rice, plant growth and nutrients uptake were decreased but in soil with low As concentration found that plant growth and nutrients uptake tended to increase and As in grain decreased. Therfore, application of phosphate fertilizer to alleviate As toxicity is a suitable strategy in soil with low As concentration.
Abstract(Thai): อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่เคยทําเหมืองแร่ดีบุก ส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนสารหนูในดิน จึงศึกษาสมบัติดินและระยะห่างจากแหล่งกําเนิดสารหนู ต่อรูปสารหนูในดิน โดยเก็บตัวอย่างดินจํานวน 23 บริเวณ ที่ 0.5-6.0 กิโลเมตร จาก แหล่งกําเนิดสารหนู โดยทําการวิเคราะห์สมบัติดินและรูปสารหนู และศึกษาการใช้ปุ๋ยฟอสเฟต ต่อการเจริญเติบโต การดูดใช้สารหนู และธาตุอาหารในข้าวที่ปลูกในดินปนเปื้อนสารหนู โดย ทดลองใส่ปุ๋ยฟอสเฟตในระดับต่าง ๆ ในดินที่มีสารหนูระดับแตกต่างกัน พบว่า ดินมีสารหนู ทั้งหมดสูงเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานในดินทําการเกษตรในประเทศไทย สารหนูในดินบนอยู่ใน รูปที่เกี่ยวเนื่องกับเหล็กและอะลูมินัมออกไซด์อสัณฐานมากที่สุดและพบสารหนูที่ถูกดูดซับแบบ ไม่เฉพาะเจาะจงน้อยที่สุด นอกจากนั้น พบความสัมพันธ์สูงระหว่างผลรวมของสารหนูที่ถูกดูด ซับแบบไม่เฉพาะเจาะจงและที่ถูกดูดซับแบบเฉพาะเจาะจงกับสารหนูที่ถูกดูดซับแบบ เฉพาะเจาะจง (r= 0.997**) และพบความสัมพันธ์ระหว่างสารหนูที่ถูกดูดซับแบบไม่ เฉพาะเจาะจงและที่ถูกดูดซับแบบเฉพาะเจาะจงกับอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนทั้งหมด และ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ในขณะที่สารหนูทั้งหมด และที่ถูกดูดซับแบบเฉพาะเจาะจงลดลงเมื่อเพิ่มระยะห่างจากแหล่งกําเนิดสารหนู เห็นได้ว่า สารหนูในรูปที่มีศักยภาพในการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมสูงในพื้นที่ที่ศึกษา ดินที่มีสารหนูสูง สารหนูรูปที่ถูกดูดซับแบบไม่เฉพาะเจาะจง (20 mg kg) จะเป็นพิษต่อข้าวในช่วงระยะแตกกอและต้นข้าวตายก่อนเก็บเกี่ยวแต่ในดินที่มี สารหนูต่ํา (10 mg kg) แสดงอาการในช่วงสร้างช่อดอกอ่อน การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตในดินที่มี สารหนูสูงไม่สามารถลดความเป็นพิษของสารหนูในข้าวได้ ทําให้การเจริญเติบโตและการดูดใช้ ธาตุอาหารลดลง ในขณะที่ในดินที่มีสารหนูต่ํา มีแนวโน้มการเจริญเติบโต การดูดใช้ธาตุอาหาร เพิ่มขึ้น และสารหนูในเมล็ดลดลง ดังนั้น การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตลดความเป็นพิษของสารหนูเป็นวิธี ที่เหมาะกับดินที่มีการปนเปื้อนสารหนูต่ําได้
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรดิน), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19570
Appears in Collections:542 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435369.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons