Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19569
Title: ความจำเป็นในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันและคุณลักษณะของการสบฟัน : ศึกษาจากบัญชีรายชื่อผู้ปวยที่รอรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน โรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Other Titles: Orthodontic Treatment Need and Occlusal Traits : Study in Orthodontic Waiting List, Dental Hospital, Prince of Songkla University
Authors: สุปาณี สุนทรโลหะนะกูล
สิริธิดา พงษ์สุพจน์
Faculty of Dentistry
คณะทันตแพทยศาสตร์
Keywords: ทันตกรรมจัดฟัน;การสบฟัน
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Objective: 1. To study amount and trend of patients seeking and receiving orthodontic treatment from 2008-2017 regarding gender and age group 2. To find receiving treatment ratio of orthodontic treatment service from 2008-2017 3. To study characteristic of patients waiting for orthodontic treatment and define degree of orthodontic treatment need using Dental Health Component of Index of Orthodontic Treatment Need (DHC of IOTN) Materials and methods: Samples were from patients seeking and receiving orthodontic treatment account from 2008-2017 and orthodontic screening records of patients waiting for orthodontic treatment from 2014-1017 in Dental Hospital, Prince of Songkla University. Only completed data records were chosen in the study. Accuracy of data recording was checked by randomly re-recording 10 samples in every 50 samples. Amount and trends of patients were studied from 10 year-list of patients, while characteristic and degree of orthodontic treatment need using DHC of IOTN was done from orthodontic treatment screening records in 4 year- waiting list. Statistical analysis were frequency, percentage and F-test for forecasting models. Results: Trend of amount of patients over 10-year period were found in some factors. The ratio of patients receiving orthodontic treatment per year was in good proportion. The most common characteristics of patients waiting for orthodontic treatment were female, young adult patients and about one third of patients were categorized in "Little Need" of orthodontic treatment. Conclusion: 1. Amount of patients seeking for orthodontic treatment from 2008-2017 was 578 patients/year. 2. Ratio of patient seeking by receiving orthodontic treatment was 0.93. 3. Females, 19-35 year-old patients were in decreasing trend, while patients aged < 12 years were increasing. 4. General characteristic of patients waiting for orthodontic treatment were female more than male 3-4 times, aged between 19-35 years and Angle's classification Class I 5. Degree of orthodontic treatment using DHC of IOTN was DHC grade 4 more than grade 2, 3 and 5 respectively.
Abstract(Thai): วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาจํานวนและแนวโน้มจํานวนผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาทาง ทันตกรรมจัดฟันในช่วงปี พ.ศ. 2551-2560 แยกตามเพศและกลุ่มอายุ 2. เพื่อหาอัตราส่วนการ ให้บริการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในช่วงปี พ.ศ. 2551-2560 3. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของ ผู้ป่วยอยู่ในคิวรอรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน และประเมินความจําเป็นในการรักษาทาง ทันตกรรมจัดฟัน อ้างอิงตามองค์ประกอบด้านการทําหน้าที่ ดัชนีไอโอทีเอ็น วิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยบัญชีรายชื่อผู้ป่วยที่ต้องการการรักษา และได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ปี พ.ศ. 2551-2560 และแบบตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่อยู่ในคิวรอรับการรักษา ปี พ.ศ.2557-2560 ในโรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คัดเลือก เฉพาะตัวอย่างที่มีข้อมูลครบถ้วนตามตัวแปรที่ต้องการศึกษา ทําการรวบรวมข้อมูล สุ่มตรวจสอบการ ลงข้อมูลซ้ํา 10 ตัวอย่าง ทุก ๆ การลงข้อมูล 50 ตัวอย่าง พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลสถิติและแนวโน้ม จํานวนผู้ป่วยจากบัญชีรายชื่อผู้ป่วย และวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะการสบฟันของผู้ป่วยและความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันจากแบบตรวจคัดกรองผู้ป่วยในคิวรอรับการรักษา อ้างอิงตาม องค์ประกอบการทําหน้าที่ของดัชนีไอโอทีเอ็น ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าสถิติ F สําหรับการพยากรณ์จํานวนผู้ป่วยในอนาคต ผลการวิจัย พบแนวโน้มจํานวนผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน เฉพาะบางตัวแปรที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลงในช่วง ปี พ.ศ. 2551-2560 อัตราส่วนของจํานวนผู้ป่วยที่ ต้องการการรักษาต่อผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดี คุณลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยที่อยู่ในคิวรอรับ การรักษาส่วนมากเป็นเพศหญิง วัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยประมาณ หนึ่งในสามของผู้ป่วยที่อยู่ในคิวรอรับการรักษามีความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันเพียงเล็กน้อย สรุปผล 1. จํานวนผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ปี พ.ศ.2551-2560 มีค่าเฉลี่ยประมาณ 578 คนต่อปี 2. อัตราส่วนการให้บริการทางทันตกรรมจัดฟันต่อปี คือ 0.93 / 3. ผู้ป่วยเพศหญิง และผู้ป่วยกลุ่มอายุ 19-35 ปี มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสําคัญ ในขณะที่ผู้ป่วยกลุ่ม อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 4. คุณลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยในคิวรอรับการรักษา ส่วนมาก ได้แก่ เพศหญิงมากกว่าเพศชาย 3-4 เท่า, อายุระหว่าง 19-35 ปี และการสบฟันผิดปกติ แบบแองเกิลแบบที่ 1 5. ระดับความจําเป็นในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันอ้างอิงตามองค์ประกอบการทําหน้าที่ของดัชนีไอโอทีเอ็น คือ DHC ระดับ 4 มากกว่า ระดับ 2 ระดับ 3 และระดับ 5 ตามลําดับ
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19569
Appears in Collections:650 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
437638.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons