กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19555
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของปัจจัยด้านจิตวิทยาต่อความตั้งใจซื้ออาหารฟังก์ชันของผู้บริโภคชาวไทยในจังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Psychological Influences toward Thai Consumer's Purchase Intention for Functional Foods in Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรศักดิ์ จินดาบถ
ธนวรรณ แก้วจันทร์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ: อาหารฟังก์ชัน สงขลา;การเลือกของผู้บริโภค สงขลา;ผู้บริโภค วิจัย สงขลา
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: This research is a survey research which aims to study the psychological influences toward purchase intention for functional foods of Thai consumers. The questionnaire is defined as an instrument for collecting data in 394 Thai consumers in Songkhla province and the sample selection is based on an accidental sampling technique. Statistical methods that are used for data analytic are frequency, percentage, mean and standard deviation while Multiple Regression Analysis is used in hypothesis testing. The result shows that, with statistical significance, attitude toward functional foods affects purchase intention for functional foods of Thai consumers in Songkhla the most, followed by perceived benefits from using functional foods, while, with no statistical significance, conscientiousness and health consciousness have no effect on purchase intention for functional foods of Thai consumers in Songkhla. Also, the regression model can forecast the functional foods purchase intention by 62.10%. This study will benefit the entrepreneur in producing or importing functional foods which most corresponds to Thai consumers' requirements.
Abstract(Thai): งานวิจัยฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงสํารวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัย ด้านจิตวิทยา ต่อความตั้งใจซื้ออาหารฟังก์ชันของผู้บริโภคชาวไทยในจังหวัดสงขลา การดําเนินการวิจัยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบบังเอิญ ในกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวไทยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสงขลา จํานวน 394 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติที่มีต่ออาหารฟังก์ชัน เป็นปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารฟังก์ชันของ ผู้บริโภคชาวไทยในจังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติมากที่สุด รองลงมาคือ การรับรู้ถึง ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้อาหารฟังก์ชัน ส่วนบุคลิกภาพแบบมีจิตสํานึก และการใส่ใจสุขภาพ เป็นปัจจัยที่ไม่ได้มีอิทธิพลผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารฟังก์ชันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และจาก การคํานวณค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น อิทธิพลของปัจจัยด้านจิตวิทยาเหล่านี้ สามารถพยากรณ์ ความตั้งใจซื้ออาหารฟังก์ชันได้ร้อยละ 62.10 การศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ในการผลิตหรือนําเข้าอาหารฟังก์ชันให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยได้มากที่สุด
รายละเอียด: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19555
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:460 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435389.pdf1.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons