กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19542
ชื่อเรื่อง: | ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Potential of Local Administrative Organization and Ecotourism Management : A Case Study of Saladan Sub-district Ko Lanta District, Krabi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฆายนีย์ ช.บุญพันธ์ อนุสรณ์ ลูกจันทร์ Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกาะลันตา (กระบี่) |
วันที่เผยแพร่: | 2019 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | The purposes of this study on potential of a local administrative organization in ecotourism management: a case study of Saladan Sub-district, Ko Lanta District, Krabi Province were to explore potential of this local administrative organization in its work that affected ecotourism management, and examine work potential factors of the sub-district administrative organization affecting ecotourism management. Data were collected through 439 copies of questionnaire responded by employees of the sub-district administrative organization, tourists, and local people. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, variance analysis, and multiple regression analysis. Qualitative data were collected from 20 informants consisting of employees of Saladan Sub-district Administrative Organization, tourists, and local people. The study found that the potential of the local administrative organization in ecotourism management was at a moderate level with tourist attractions management at the highest level of potential, and enforcement of rules, regulations and laws was at the lowest level. The comparison between personal factors and levels of ecotourism management revealed that subjects with different levels of education were significantly different in their opinions on ecotourism management at the level 0.01; subjects with primary education were different in their opinions from those with lower-secondary and higher-secondary school education or equivalent on ecotourism management at a statistical significance of 0.05. Analysis to determine independent variables affecting dependent variables revealed that overall, there were four potential work factors: tourist attractions management, personnel management, local participation management, and rules, regulations, and law. They positively affected the levels of ecotourism management in terms of activity, management, and participation at the statistical significance level of 0.05. The factor that most affected ecotourism management was work potential in management of tourist attractions. Keywords: Ecotourism, potential, local administrative organization |
Abstract(Thai): | การวิจัยเรื่อง ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาตําบลศาลาด่าน อําเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ องค์การบริหารส่วนตําบลในด้านการปฏิบัติงานที่ส่งต่อผลการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ ศึกษาปัจจัยศักยภาพการปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตําบลที่ส่งผลต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิง นิเวศ ผู้วิจัยได้ทําการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตําบล นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ จํานวน 438 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิง พหุคุณ และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตําบล ศาลาด่าน นักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ตําบลศาลาด่าน จํานวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อยู่ในระดับปานกลาง โดย ด้านที่อยู่ในระดับมากที่สุดคือ ด้านบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ส่วนด้านการรักษากฎระเบียบ และข้อกฎหมายอยู่ในระดับน้อยสุด การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับ การระดับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการ จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยผู้ที่มีระดับ การศึกษาประถมศึกษา มีความคิดเห็นต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ต่างกับผู้ที่มีระดับ การศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลายหรือเทียบเท่า และปริญญาตรี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิต ที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์เพื่อหาตัวแปรอิสระที่ส่งผลตัวแปรตาม พบว่าในภาพรวมปัจจัย ศักยภาพการปฏิบัติงานทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ด้านการบริหาร บุคคล ด้านการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่น และด้านการรักษากฎระเบียบและข้อ กฎหมาย ส่งผลเชิงบวกต่อระดับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ด้านพื้นที่ ด้านกิจกรรม ด้านการ จัดการ และด้านการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับ การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมากที่สุด คือ ปัจจัยศักยภาพการปฏิบัติงานด้านบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว คําสําคัญ: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศักยภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
รายละเอียด: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19542 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 465 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
435321.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License