Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19531
Title: | การพัฒนาและประเมินผลของฉลากช่วยรูปภาพ "คำแนะนำการใช้ยา" สำหรับผู้ป่วยชาวไทยมุสลิมที่ไม่รู้หนังสือ |
Other Titles: | Development and Evaluation of Pictograms of Auxiliary Labels on Drug Use for Illiterate Muslim Patients |
Authors: | สงวน ลือเกียรติบัณฑิต ทสมา กุลทวี Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmacy Administration) คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ |
Keywords: | ชาวไทยมุสลิม;การใช้ยา |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This research aimed to develop and evaluate the communicability of pictorial auxiliary labels for instruction for drug use in illiterate Thai Muslim patients. The study was divided into three sub-studies. The first study was a survey of drug use instruction on auxiliary labels used in Yala Hospital from 52,929 prescriptions in the last 1 year with 260,297 drug items. It was found that 99,085 items (38.07%) requiring auxiliary labels. Ten most commonly used auxiliary labels covered 87.88% of the drugs needing auxiliary labels. However, pictograms of 4 of the top 10 labels had already been developed by Bowonrat. Angsuwattanakul (2013). Among 6 remaining labels, the researcher combined the instruction "Do not chew or grind medicine" and "Do not chew / grind the medicine / split the medication into the same pictogram. Therefore there are 5 pictograms to be developed including "Expire in 1 month after opening", "Do not take this drug more than 8 tablets per day", "Do not chew / crush medicine / split the medication", "Dissolve with water before taking" and "shake the bottle before taking". The second study was focus group discussion among Thai Muslims patients who were illiterate, one group at a time with 6 patient per group. The initial pictograms developed by the researcher were revised once for "medicine "Expire in 1 month after opening", twice for "Do not take this drug more than 8 tablets per day", three times for "Do not chew / crush medicine / split the medication", twice for "Dissolve or mix with water before taking" and twice for "shake the bottle before taking". The third study was a test of communicability of a total of 9 pictograms consisting of 5 pictograms developed in the study and 4 pictograms of Bowonrat Angsuwattanakul (2013). There were 5 rounds of test. The first test was terminated after testing in 30 illiterate Muslim patients because 4 pictograms were failed on the test with less than 40 percent of subjects with correct understanding. For the pictograms "Do not take this drug more than 8 tablets per day", no subjects could understand the meaning at all. Therefore it was not further developed because the results of the study showed the obstacles in communicating the meaning of the pictogram. The researcher reviewed the pictograms on "Do not chew / crush medicine / split the medication", "Expire in 1 month after opening", and "taking this drug as indicated every day until the drug is exhausted". After further test of the pictograms in 30, 10 and 10 patients, respectively, the pictograms were reviewed for 2, 3 and 3 times, respectively. The test of all 8 pictograms in 109 subjects (61-74 subjects per label) found that 85.10-100.00% of the subjects correctly understood the pictograms. All labels pass the ANSI criteria stipulating that the symbol must convey the correct meaning to at least 85 percent of the subjects. Three labels with the least proportion of subjects with correct answers were "taking this drug as indicated every day until the drug is exhausted" (89.20%), "taking this drug may cause drowsiness" (87.00%) and "Expire in 1 month after opening" (85.10%). |
Abstract(Thai): | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินความสามารถในการสื่อความหมาย ของฉลากช่วยรูปภาพ “คําแนะนําการใช้ยา” ในผู้ป่วยชาวไทยมุสลิมที่ไม่รู้หนังสือ การศึกษาแบ่งเป็น สามการศึกษาย่อย การศึกษาแรกเป็นการสํารวจคําแนะนําการใช้ยาในฉลากช่วยของโรงพยาบาล ยะลาจากใบสั่งยา 52,929 ใบใน 1 ปีย้อนหลังซึ่งมีรายการยาทั้งหมด 260,297 รายการ พบว่า ยา 99,085 รายการ (ร้อยละ 38.07) ต้องมีฉลากช่วย ฉลากช่วยที่พบบ่อย 10 อันดับแรกครอบคลุม รายการยาที่ต้องมีฉลากช่วยร้อยละ 87.88 แต่ฉลากช่วย 4 จาก 10 อันดับแรกได้รับการพัฒนาเป็น ฉลากภาพแล้วโดยบวรรัตน์ อังศุวัฒนากุล (2556) สําหรับฉลากช่วยที่ใช้บ่อยอีก 6 ฉลาก ผู้วิจัยรวม คําเตือน “ห้ามเคี้ยวหรือบดยา” และ “ห้ามเคี้ยว/บดยา/แบ่งยา” เข้าด้วยกันในฉลากภาพเดียวกัน จึงเหลือฉลากภาพที่ต้องพัฒนาทั้งสิ้นจํานวน 5 แบบ คือ ยามีอายุ 1 เดือนหลังจากเปิดใช้ ห้าม รับประทานยานี้เกิน 8 เม็ดต่อวัน ห้ามเคี้ยว/บดยา/แบ่งยา ละลายหรือผสมน้ําก่อนรับประทาน และ เขย่าขวดก่อนใช้ยา การศึกษาที่สองเป็นการจัดการสนทนากลุ่มในผู้ป่วยชาวไทยมุสลิมที่ไม่รู้หนังสือ 4 ครั้ง ครั้งละ 1 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ฉลากภาพตั้งต้นของผู้วิจัยได้รับการปรับปรุง 1 รอบสําหรับฉลาก “ยามีอายุ 1 เดือนหลังจากเปิดใช้”, ปรับปรุง 2 รอบสําหรับฉลาก “ห้ามรับประทานยานี้เกิน 8 เม็ด ต่อวัน”, ปรับปรุง 3 รอบสําหรับฉลาก “ห้ามเคี้ยว/บดยา/แบ่งยา”, ปรับปรุง 2 รอบสําหรับฉลาก “ละลายน้ําก่อนรับประทาน” และปรับปรุง 3 รอบสําหรับฉลาก “เขย่าขวดก่อนใช้” การศึกษาที่สามเป็นการทดสอบการสื่อความหมายของฉลากรูปภาพที่พัฒนาขึ้น 5 ภาพและฉลากภาพของบวรรัตน์ อังศุวัฒนากุล (2556) 4 ภาพ รวมทั้งหมด 9 ภาพ การทดสอบมี ทั้งหมด 5 รอบ การทดสอบครั้งที่ 1 ยุติลงหลังทดสอบในผู้ป่วยมุสลิมที่ไม่รู้หนังสือ 30 คน เพราะมี 4 ฉลากภาพที่ตัวอย่างน้อยกว่าร้อยละ 40 บอกความหมายถูกต้อง ฉลากภาพ “ห้ามรับประทานยานี้ เกิน 8 เม็ดต่อวัน” ไม่มีตัวอย่างคนใดบอกความหมายถูกต้องเลย จึงไม่ได้ถูกพัฒนาต่อ เพราะผลจาก การศึกษาแสดงถึงอุปสรรคในการสื่อความหมายที่พบเป็นอย่างมากในฉลากภาพนี้ ผู้วิจัยปรับปรุงฉลากภาพห้ามเคี้ยว/บดยา/แบ่งยา, ยามีอายุ 1 เดือนหลังจากเปิดใช้, และ รับประทานยานี้ติดต่อกันตามวิธีที่ระบุไว้ทุกวันจนยาหมด หลังจากนั้นมีการทดสอบในผู้ป่วยอีก 30 10 และ 10 รายตามลําดับ ฉลากภาพทั้งสามได้รับการปรับปรุงในขั้นตอนนี้ 2, 3 และ 3 ครั้ง ตามลําดับ การทดสอบฉลากภาพทั้ง 8 ฉลากในตัวอย่าง 109 ราย (ฉลากละ 61-74 ราย) พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 85.10-100.00 เข้าใจฉลากรูปภาพทั้ง 8 แบบ ได้อย่างถูกต้อง ฉลากทั้งหมด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ ANSI ที่กําหนดว่า สัญลักษณ์ต้องสื่อความหมายให้ผู้พบเห็นทราบได้อย่าง น้อยร้อยละ 85 ฉลากที่มีผู้ตอบถูกน้อยที่สุด 3 ลําดับ คือ รับประทานยานี้ติดต่อกันตามวิธีที่ระบุไว้ทุก วันจนยาหมด (ร้อยละ 89.20) รับประทานยานี้แล้วอาจทําให้ง่วงนอน (ร้อยละ 87.00) และยามีอายุ 1 เดือนหลังจากเปิดใช้ (ร้อยละ 85.10) |
Description: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร), 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19531 |
Appears in Collections: | 575 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
434772.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License