Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19530
Title: | การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตคีเฟอรันจากแหล่งอาหารราคาถูกและการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม |
Other Titles: | Optimization of Kefiran Production from Low-Cost Nutrients Sources and Its Application in Cosmetics |
Authors: | เบญจมาส เชียรศิลป์ อภิสรา เอียดเจริญ Faculty of Agro-Industry (Industrial Biotechnology) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม |
Keywords: | ครีมถนอมผิว;ผลิตภัณฑ์มะพร้าว;เครื่องสำอาง |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Kefiran is a functional exopolysaccharide that can be used as stabilizers and also has antioxidant and antimicrobial properties. Kefiran could be produced either by kefir grains cultivated in milk/soymilk or pure culture of Lactobacillus kefiranofaciens JCM 6985. It was found that kefiran produced by kefir grains in soymilk was higher than that in milk at 30.5=0.6 mg-kefiran/g substrate but the lactic acid bacteria can produce kefiran higher at 45.4+0.8 mg-kefiran/g-substrate. However, the production costs of kefiran are high, mainly due to the high cost of fermentation media. Therefore, utilizing byproducts from agro-industries would be economically attractive. Mature coconut water (MCW) and whey lactose (WL) are byproducts from industries that could be as low-cost nutrient sources for kefiran production by L. kefiranofaciens JCM 6985. It was found that MCW gave high ketiran yield comparable to that obtained from pure sugars and from the use of WL. The optimal conditions for kefiran production from MCW were: initial sugar concentration of 3% and controlling pH at 5.5 during fermentation to reduce the inhibitory effect from growth associated byproduct, lactic acid. The maximum dry cell weight and kefiran production were 2.7820.12 g/L and 2.04+0.08 g/L, respectively. The sugar consumption and total acid production were also as high as >98% and 3.05%, respectively. When the MCW was added with yeast extract at 3 g-N/L, the kefiran production was increased up to 3.26+0.03 g/L. The total acid production was 5.9%. The structure analysis indicated that kefiran produced using MCW had similar structure to that extracted from kefir grains. The repeated-batch cultivation in 1 L bioreactor could produce the kefiran > 2.02+0.03 g/L up to 6 cycles. These results indicate that MCW could be used as a suitable low-cost nutrient source for kefiran production by L. kefiranofaciens. The scale up of kefiran production in 7 L of bioreactor with mature coconut only and collect data of chemicals, electric and gas for producing and extracting kefiran. It was found that the production of kefiran from mature coconut water has cost was 8.94 baht/g-kefiran. The produced kefiran and lactic acid as a by-product were used as ingredients in skin lotion and evaluated for the sensory quality with the testers by 9-point hedonic scale used scale. The skin lotion added with kefiran received the highest score of 6.4 for giving moisture and the highest overall liking score of 6.85. While the control that contained no kefiran and lactic acid received overall liking score of 6.25. The skin lotion added with kefiran has also antioxidant property. The skin lotion added with kefiran and lactic acid received the overall liking score of 6.25 and the skin lotion added with lactic acid received the highest absorbing score of 6.65. |
Abstract(Thai): | คีเฟอรันเป็นเอ็กโซโพลีแซ็คคาไรด์ที่สามารถใช้เป็นสารเพิ่มความคงตัวและมีคุณสมบัติ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ คีเฟอรันสามารถผลิตได้จากหัวเชื้อคีเฟอร์เกรน ที่เลี้ยงในนมสดหรือนมถั่วเหลือง หรือผลิตโดยเชื้อแบคทีเรียแลคติก Lactobacillus Refinanofaciers JCM 6985 ซึ่งพบว่าการเลี้ยงหัวเชื้อคีเฟอร์เกรนในนมถั่วเหลืองให้คีเฟอรันสูงกว่าในนมสด คิดเป็น ผลผลิตเท่ากับ 30.550.6 มิลลิกรัมคีเฟอรันต่อกรัมสารตั้งต้น แต่หากผลิตคีเฟอรัน โดยเชื้อแบคทีเรีย แลคติกให้ผลผลิตคีเฟอรันสูงกว่าคือเท่ากับ 45.440.8 มิลลิกรัมคีเฟอรันต่อกรัมสารตั้งต้น อย่างไรก็ ตามเนื่องจากอาหารเลี้ยงเชื้อมีราคาสูงทําให้ต้นทุนการผลิตคีเฟอรันสูงตามไปด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงสนใจใช้ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อเป็นแหล่งอาหารราคาถูกในการผลิตคีเฟอรัน ซึ่งได้แก่ น้ํามะพร้าวแก่ และเวย์แลคโตสในการเลี้ยงเชื้อ L. kefiranofaciens JCM 6985 ผลการ ทดลองพบว่าน้ํามะพร้าวแก่ให้ผลผลิตคีเฟอรันสูงเทียบเท่ากับการใช้น้ําตาลบริสุทธิ์ และสูงกว่าการ ใช้เวย์แลคโตส และพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตคีเฟอรันจากน้ํามะพร้าวแก่ คือ การใช้น้ํา มะพร้าวแก่ที่มีความเข้มข้นน้ําตาลเริ่มต้นร้อยละ 3 และควบคุมพีเอชที่ 5.5 ตลอดการหมักเพื่อลด การยับยั้งโดยกรดแลคติกที่เชื่อผลิตขึ้นระหว่างการเจริญ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมดังกล่าวพบว่า เชื้อสามารถเจริญและให้น้ําหนักเซลล์แห้งสูงสุดเท่ากับ 2.7850.12 กรัมต่อลิตร และผลิตคีเฟอรันได้ เท่ากับ 2.04:0.08 กรัมต่อลิตร คิดเป็นผลผลิตคีเฟอรันเท่ากับ 67.73.0 มิลลิกรัมคีเฟอรันต่อกรัม สารตั้งต้น และพบว่าเชื้อมีการใช้น้ําตาลมากกว่าร้อยละ 98 และผลิตกรดรวมเท่ากับร้อยละ 3.05 จากการศึกษาการเติมแหล่งในโตรเจนที่ความเข้มข้นต่างๆ และควบคุมพีเอชระหว่างการหมัก พบว่าการเติมยีสต์สกัดที่ 3 กรัมไนโตรเจนต่อลิตร ทําให้การผลิตคีเฟอรันเพิ่มขึ้นเป็น 3.26+0.03 กรัมต่อลิตรและผลิตกรดรวมได้ร้อยละ 5.90 จากการวิเคราะห์โครงสร้างคีเฟอรันพบว่าคีเฟอรันที่ ผลิตโดยใช้น้ํามะพร้าวแก่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับคีเฟอรันที่สกัดได้จากหัวเชื้อคีเฟอร์เกรน จาก การเพาะเลี้ยงแบบกะซ้ําต่อเนื่องในถังปฏิกรณ์ขนาด 1 ลิตร สามารถผลิตคีเฟอรันได้มากกว่า 2.0240.03 กรัมต่อลิตร ถึง 6 รอบของการหมัก ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าน้ํามะพร้าวสามารถ นํามาใช้เป็นแหล่งอาหารต้นทุนต่ําสําหรับการผลิตคีเฟอรันโดยเชื้อ L. kefirano aciers JCM 6985ได้ จากการขยายขนาดการผลิตคีเฟอรันในถังปฏิกรณ์ขนาด 7 ลิตร โดยใช้น้ํามะพร้าวแก่เป็นแหล่ง อาหารเพียงอย่างเดียว และเก็บข้อมูลการใช้สารเคมี ค่าไฟฟ้า ค่าแก็สในการผลิตและสกัคคีเฟอรัน พบว่าการผลิตคีเฟอรันจากน้ํามะพร้าวแก่มีต้นทุนอยู่ที่ 8.94 บาทต่อกรัมคีเฟอรัน จากการศึกษาการ ประยุกต์ใช้คีเฟอรันและกรดแลคติกเป็นส่วนผสมในโลชั่นบํารุงผิว และทําการประเมินคุณภาพทาง ประสาทสัมผัสกับผู้ทดสอบโดยใช้ 9-point hedonic scale พบว่าโลชั่นบํารุงผิวที่มีส่วนผสมของ คีเฟอรันได้รับคะแนนความชุ่มชื้นแก่ผิวสูงสุดเท่ากับ 6.40 และคะแนนความชอบโดยรวมสูงสุด เท่ากับ 6.85 ซึ่งสูงกว่าชุดควบคุมที่ไม่ได้เติมคีเฟอรันและกรดแลคติกที่ได้รับคะแนนความชอบ โดยรวมเท่ากับ 6.25 อีกทั้งยังพบว่าโลชั่นบํารุงผิวที่มีส่วนผสมคีเฟอรันมีคุณสมบัติเป็นสารต้าน อนุมูลอิสระ สําหรับโลชั่นที่มีส่วนผสมของคีเฟอรันและกรดแลคติกได้รับคะแนนความชอบ โดยรวมรองลงมาอันดับสองเท่ากับ 6.25 สําหรับโลชั่นที่มีส่วนผสมของกรดแลคติกได้รับคะแนน การซึมซับเข้าสู่ผิวสูงสุดเท่ากับ 6.65 |
Description: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ), 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19530 |
Appears in Collections: | 853 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
434777.pdf | 5.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License