Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19523
Title: องค์ประกอบแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากพลาสติกชีวภาพของผู้บริโภคในกลุ่มวัย Millennial : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Leadership of Local Administrative Organization Leaders and Peace Process : A Case Study of Narathiwat Province
Authors: ศศิวิมล สุขบท
ฟาอิซ กะสัมพันธ์
Faculty of Management Sciences (Business Administration)
คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค การตัดสินใจ;ผู้บริโภค
Issue Date: 2019
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: This research aims to study the motivational factors which affect the decision to purchase bioplastics products in the Millennial consumers. The data were collected from a sample group of 400 students aged between 17-33 years who have purchased bioplastics products. The questionnaire was used as a research tool. The data were analyzed by using descriptive statistics to find the percentage, frequency, mean, and standard deviation. The inferential static was analyzed by using exploratory factor analysis which Principal Component Analysis and Varimax Rotation were used. It's also used Multiple Regression Analysis which the significance level of 0.05 as well. The results of the study showed that 42 variables that were studied can be analyzed into 9 factors: promotion and distribution, psychology, properties of bioplastics, environmental responsibility behavior, product image, product benefits, perception, personality and consciousness in using the products. The results of the study on the influence of the motivation factors on the decision to purchase bioplastics products were found that environmental responsibility behavior, product benefits, and perceived have a positive influence on the purchase decision to purchase bioplastics products. The results of this research can be used as a guideline for government agencies, private sector, and interested parties to take these factors into consideration. Moreover, it can be applied to marketing strategies to determine the direction that is consistent with the target groups in order to motivate consumers to use bioplastics instead of conventional plastics.
Abstract(Thai): งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจชื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพของผู้บริโภคในกลุ่มวัย Millennial โดยทําการเก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์และมีอายุระหว่าง 17-33 ปี จํานวน 400 ตัวอย่าง ใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการหาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมไปถึงการวิเคราะห์สถิตเชิงอนุมาน โดยทําการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสํารวจ (Exploratory Factor Analysis) ด้วยวิธีการสกัดองค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) และใช้ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ซึ่งกําหนดระดับนัยสําคัญที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดตัวแปรจํานวน 42 ตัวแปรที่ทําการศึกษาสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ การส่งเสริมการตลาดและการจัดจําหน่าย ลักษณะจิตวิทยา คุณสมบัติของพลาสติกชีวภาพ พฤติกรรมการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ ของผลิตภัณฑ์ การรับรู้ จิตสํานึกส่วนบุคคล และจิตสํานึกในการใช้ผลิตภัณฑ์ และ 2) อิทธิพลของ องค์ประกอบแรงจูงใจต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากพลาสติกชีวภาพ พบว่า พฤติกรรม การรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ การรับรู้ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากพลาสติกชีวภาพ ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่สนใจ นําปัจจัยดังกล่าวนี้ไปพิจารณาและประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์ ด้านการตลาดเพื่อกําหนดทิศทางให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่จะทําให้ผู้บริโภคเกิดแรงจูงใจหันมาใช้พลาสติกชีวภาพแทนพลาสติกทั่วไป
Description: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19523
Appears in Collections:460 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435300.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons