Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19517
Title: การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์แบบกระดาษร่วมกับอนุภาคนาโนทองเซนเซอร์แบบตรวจวัดสีสำหรับวิเคราะห์สารไซบูทรามีนในตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก
Other Titles: Paper-Based Analytical Device based on Gold Nanoparticle Sensor for Colorimetric Detection of Sibutramine in adulterated Herbal Slimming Supplements
Authors: อภิชัย พลชัย
สุนิสา พลอินทร์
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์
Faculty of Science (Applied Science)
Keywords: การวิเคราะห์โดยการวัดสี;ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การตรวจวิเคราะห์
Issue Date: 2019
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: This work reports on the development of paper-based analytical device based on gold nanoparticle sensor for colorimetric detection of sibutramine in adulterated herbal slimming supplements. The determination of sibutramine is based on the aggregation of citrate-stabilized gold nanoparticles sensor induced by sibutramine present in the sample, resulting in the color of gold nanoparticles change from red to blue. The color change on a filter paper can be measured both by the naked eyes and a digital camera in 1 min. The morphology of the citrate- stabilized gold nanoparticles on paper-based analytical device was investigated using scanning electron microscopy (SEM) with energy dispersive X-ray analysis (EDX). Method development was investigated including sample and gold nanoparticle sensor ratio and interaction time. Under the optimized experiment conditions, a linear calibration curve for the sibutramine in the range of 30 to 100 μM (R2 = 0.9864) was obtained. Limit of detection (LOD) and limit quantification (LOQ) were 10 and 30 μM, respectively. The intra-day and inter-day precisions were 0.42-1.21% RSD and 1.27-2.27% RSD, respectively. The sample recovery of sibutramine analysis ranged from 94.67 to 112.41%. A paper-based analytical device can be stored for at least 3 months in a freezer (4 °C and -18 °C). The proposed method was applied for the determination of sibutramine in adulterated herbal slimming supplements samples. The developed method agreed well with the spectrophotometry method using the paired t-test (P > 0.05, n=3). This method is portable, cost-effective, sensitive and low-sample and reagent consumption. It can be used as an alternative method for the analysis of sibutramine which will be useful in the forensic investigation.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้ได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์แบบกระดาษร่วมกับอนุภาคนาโนทอง เซนเซอร์แบบตรวจวัดสีสําหรับวิเคราะห์สารไซบูทรามีนในตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ําหนัก โดยอาศัยการเกาะกลุ่มระหว่างไอออนของซิเตรทซึ่งมีความเป็นประจุลบที่ล้อมรอบพื้นผิวของอนุภาค นาโนทองกับสารไซบูทรามีน ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสีจากสีแดงไวน์เป็นสีน้ําเงิน สามารถตรวจวัด ความเข้มสีได้ด้วยตาเปล่าและจากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายรูปใช้ระยะเวลาเพียง 1 นาที มี การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของอนุภาคนาโนทองที่ยึดเกาะบนกระดาษด้วยเทคนิคกล้อง จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดร่วมกับเทคนิคการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ (scanning electron microscopy with energy dispersive X-ray analysis, SEM-EDX) ศึกษา สมรรถนะของอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์แบบกระดาษที่พัฒนาขึ้นภายใต้สภาวะที่เหมาะสม พบว่า มี ความเป็นเส้นตรงในช่วง 30 ถึง 100 ไมโครโมลาร์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.9864 มี ขีดจํากัดของการตรวจวัดและขีดจํากัดของการตรวจวัดเชิงปริมาณ เท่ากับ 10 และ 30 ไมโครโมลาร์ตามลําดับ ผลความเที่ยงของวิธีมีร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ภายในวันเดียวกัน (intra-day) และภายในระหว่างวัน (inter-day) อยู่ในช่วง 0.42 ถึง 1.21 และ1.27 ถึง 2.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ ผลของความแม่นของวิธีมีค่าร้อยละการได้กลับคืนอยู่ในช่วง 94.67 ถึง 112.41 เปอร์เซ็นต์ อนุภาคนาโนทองที่เคลือบบนกระดาษมีความเสถียรสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือนที่อุณหภูมิตู้เย็น (4 องศาเซลเซียส) และอุณหภูมิช่องแช่แข็ง (-18 องศาเซลเซียส) เมื่อนําอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์แบบ กระดาษที่พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารไซบูทรามีนในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลด น้ําหนักจํานวน 7 ตัวอย่าง พบว่า มีค่าร้อยละการได้กลับคืนอยู่ในช่วง 85.46 ถึง 108.69 เปอร์เซ็นต์ และมีผลการวิเคราะห์เทียบเท่ากับวิธีมาตรฐานยูวี-วิสิเบิล สเปกโตรสโคปี (uv-visible spectroscopy) โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ t-test ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% แสดงให้เห็นว่า อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์แบบกระดาษที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง แม่นยํา น่าเชื่อถือ พกพาได้ง่าย ราคาถูก มีความไวในการวิเคราะห์และใช้รีเอเจนต์ปริมาณน้อย สามารถนําไป ประยุกต์ใช้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสําหรับตรวจวัดสารไซบูทรามีนที่ลักลอบเจือปนในตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารลดน้ําหนัก เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานและข้อมูลสนับสนุนในการพิสูจน์การกระทําความผิดทางด้านนิติวิทยาศาสตร์
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นิติวิทยาศาสตร์), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19517
Appears in Collections:340 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435290.pdf7.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons