กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19516
ชื่อเรื่อง: ผลของโพรดิจิโอซินจากแบคทีเรีย Zooshikella ganghwensis ที่แยกได้จากฟองน้ำทะเลในกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Prodigiosin From Zooshikella ganghwensis Isolated from Marine Sponge in Pacific White Shrimp (Litopenaeus vannamei)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นเรศ ซ่วนยุก
ธรานันท์ คงกะพันธ์
Faculty of Natural Resources (Aquatic Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาวาริชศาสตร์
คำสำคัญ: กุ้งขาว โรค การป้องกัน;โรคเกิดจากแบคทีเรีย
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: Prince of Songkla University
บทคัดย่อ: In this study, a total of 8 pigmented bacteria (PSU-KSAAHRC MS1-8) were isolated from five species of marine sponges. Of these 8 isolates, one bacterial isolate PSU-KSAAHRC MS2 from marine sponge Haliclona sp. from Satun provinces, produced highest pigment of 3,140.23± 464.80 μg/g. The red pigment found in the bacterial isolate PSU-KSAAHRC MS2 exhibited maximum absorption ranged from 535-539 nm and mass spectrometry revealed molecular weights of 322.19-324.20 Da, which were identified as prodigiosins. Based on morphological and biochemical characteristics as well as phylogenetic analysis, this bacterium was identified as Zooshikella ganghwensis. Optimization of prodigiosin production at various conditions showed that Z. ganghwensis PSU-KSAAHRC MS2 produced maximum prodigiosin at temperature of 30 °C and pH 8. Investigation of dietary administration of Z. ganghwensis PSU- KSAAHRC MS2 at 0, 1, 3 and 5 g/kg diet in Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) indicated that dietary supplemented Z. ganghwensis PSU-KSAAHRC MS2 had no effect on growth performance of Pacific white shrimp infected with Vibrio parahaemolyticus. However the highest survival rate (61.67±24.66 %) was observed in shrimp fed with dietary supplemented Z. ganghwensis PSU-KSAAHRC MS2 at 1 g/kg diet. Moreover, the highest total hemocyte count (3.73±0.70x10' cell/ml) phenoloxidase activity (19.57±1.23 unit/min/mg protein) phagocytic activity (54.33±0.76 %) phagocytic index (42.82±0.66) and catalase enzyme activity (73.40±24.6 unit/mg protein) were found in shrimp fed with dietary supplemented Z. ganghwensis PSU- KSAAHRC MS2 at 1 g/kg diet which was significantly different from other treatments (p<0.05). Histopathological findings revealed normal hepatopancreatic tissue observed in shrimp fed with dietary supplemented Z. ganghwensis PSU-KSAAHRC MS2 at 1 g/kg diet when compared to other treatments, indicating that prodigiosin from Z. ganghwensis treat the shrimp from V. parahaemolyticus infection.
Abstract(Thai): การศึกษาครั้งนี้สามารถแยกแบคทีเรียที่ผลิตสารสีได้จํานวน 8 ไอโซเลต (PSU-KSAAHRC MS1-8) จากฟองน้ําทะเลจํานวน 5 ชนิด โดยแบคทีเรียไอโซเลต PSU-KSAAHRC MS2 ที่แยกได้จาก ฟองน้ําทะเล Haliclona sp. ในจังหวัดสตูล สามารถผลิตสารสีได้สูงสุด คือ 3,140.23+464.80 ไมโครกรัม ต่อกรัม เมื่อนําสารสีแดงที่แบคทีเรียผลิตมาศึกษาคุณสมบัติและ จําแนกชนิด พบว่าเป็นสารโพรดิจิ โอซินที่มีค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดอยู่ในช่วง 535-539 นาโนเมตร และมีน้ําหนักโมเลกุล 322,19-324.20 ดาลตัน การจําแนกชนิดของแบคทีเรียโดยอาศัยคุณสมบัติทางสัณฐานวิทยา ชีวเคมี และการใช้เทคนิค Phylogenetic analysis สามารถจําแนกชนิดแบคทีเรียไอโซเลต PSU-KSAAHRC MS2 ได้เป็นแบคทีเรีย Zooshikella ganghwensis การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่เหมาะสมต่อการผลิตสารสีของแบคทีเรีย พบว่า แบคทีเรีย Z. ganghwensis PSU-KSAAHRC MS2 สามารถผลิตสารสีโพรดิจิโอซินได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และความเป็นกรด-ด่าง 8 การศึกษาผลของการเสริมแบคทีเรีย Z. ganghwensis PSU- KSAAHRC MS2 ในอาหารกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ที่ระดับ 0 1 3 และ 5 กรัมต่อกิโลกรัม อาหาร พบว่า กุ้งขาวที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ทุกชุดการทดลองมีการเจริญเติบโตไม่ แตกต่างกัน หลังได้รับอาหารผสมเซลล์แบคทีเรีย Z, ganghwensis PSU-KSAAHRC MS2 อย่างไรก็ตาม กุ้งขาวที่ได้รับอาหารผสมเซลล์แบคทีเรีย Z. ganghwensis PSU-KSAAHRC MS2 ที่ระดับ 1 กรัมต่อ กิโลกรัมอาหาร มีอัตรารอดสูง 61.67±24.66 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณเม็ดเลือดรวม (3.73±0.70x10 เซลล์ต่อมิลลิลิตร) กิจกรรมของเอนไซม์ฟีนอลออกซิเดส (19.57+1.23 ยูนิตต่อนาทีต่อ มิลลิกรัมโปรตีน) ความสามารถในการจับกินสิ่งแปลกปลอม (54.33±0.76 เปอร์เซนต์) ดัชนีการจับกิน สิ่งแปลกปลอม (42.82±0.66) และกิจกรรมของเอนไซม์คาตาเลส (73.40-24.6 ยูนิตต่อมิลลิกรัมโปรตีน) สูงกว่ากุ้งขาวในชุดการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญ (p< 0.05) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิ สภาพของตับและตับอ่อน พบว่าตับและตับอ่อนของกุ้งขาวที่ได้รับอาหารผสมเซลล์แบคทีเรียที่ระดับ 1 กรัมต่อกิโลกรัมอาหาร มีลักษณะค่อนข้างปกติเมื่อเปรียบเทียบกับตับและตับอ่อนของกุ้งที่ได้รับอาหาร ในชุดควบคุมและชุดการทดลองอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าสารโพรดิจิโอซินภายในเซลล์ของแบคทีเรีย Z. ganghwensis ช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย P. parahaemolyticus ในกุ้งขาว
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วาริชศาสตร์), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19516
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:530 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
435288.pdf2.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons