Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19515
Title: | ผลของสารประกอบซิลเวอร์ชนิดต่าง ๆ ต่อจุลชีพในช่องปาก ความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่้อบุช่องปากมนุษย์และการหยุดยั้งฟันผุในแบบจำลองฟัน |
Other Titles: | Effect of Various Silver Compounds on Oral Microbes, Their Cytotoxicity on Human Keratinocytes and arresting of Carious Lesion in Tooth Model |
Authors: | รวี เถียรไพศาล พัชรี ไชยทอง Faculty of Dentistry คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Keywords: | ฟันผุ การป้องกัน;การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | Prince of Songkla University |
Abstract: | Dental caries is the most common chronic infectious diseases. Scientist attempted to study some substances that will be used to inhibit the progression of dental caries. Silver diamine fluoride which is commonly used in many countries. However, the major disadvantage of Silver diamine fluoride is black stained on tooth surface. This study aimed to evaluate the antibacterial impact of the three silver compounds; 1.) Silver nitrate (AgNO3) 6350 ppm 2.) Silver oxide (Ag2O + NHF) 12700 ppm and 3.) Silver complex (Ag complex) 100 ppm, on five oral pathogenic bacterial strains: Streptococcus mutans, Streptococcus sobrinus, Actinomycosis actinomycetemcomitans, Candida albicans, and Enterococcus faecalis in planktonic and biofilm conditions. The three silver compounds were tested by various methods included: Agar diffusion method, Minimum inhibitory concentrations (MIC), Minimum Bactericidal Concentration (MBC), Biofilm inhibition, and Biofilm eradication. The result revealed Ag2O + NHF and AgNO, had an antimicrobial effect to all of tested bacterial strain. While E. faecalis and Actinomycosis actinomycetemcomitans was not affected by Ag complex in planktonic and biofilm conditions. For the cytotoxicity test on humans oral mucosa (Keratinocyte cell line: H357), the results showed Ag2O + NHF and AgNO, were 100% cells cytotoxicity. Whereas Ag complex at 0.0475 ppm were 47.08% cells cytotoxicity. Effect of the silver compounds in inhibition of human tooth demineralization investigated by MicroCT scanning. The evaluation of linear attenuation coefficients (LAC) from 40 molar teeth showed the percentage of demineralized inhibition were 25%, 45% and 15% of AgNO,, Ag2O + NHF, and Ag complex groups, respectively. Moreover, tooth discoloration after applied the silver compounds at 1, 7 and 14 days showed the maximum rate of tooth discoloration occurred at 7 days. Ag2O + NHF had the highest discoloration followed by AgNO, and Ag complex. This study indicated that Ag2O+ NHF and AgNO, might be potential caries arresting agents for the oral cavity given their desirable properties. |
Abstract(Thai): | ฟันผุเป็นโรคติดเชื้อในช่องปากที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก ดังนั้นจึงมีความพยายามศึกษาสารที่จะนํามาใช้ยับยั้งการเกิดฟันผุ โดยเฉพาะสารประกอบซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ ซึ่งเป็น ที่นิยมใช้กันในหลาย ๆ ประเทศ แต่มีข้อเสียคือจะทําให้เกิดการเปลี่ยนสีฟันให้กลายเป็นสีดําและยัง มีข้อจํากัดการใช้ในประเทศไทย ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ สารประกอบซิลเวอร์ 3 ชนิด คือ 1.)ซิลเวอร์ไนเตรท (AgNO.) ความเข้มข้น 6350 ppm 2.)ซิลเวอร์ ออกไซด์ (Ag,O + NH,F) ความเข้มข้น 12700 ppm และ 3.) ซิลเวอร์คอมเพล็กซ์ (Ag complex) ความเข้มข้น 100 ppm ต่อการด้านเชื้อ Streptococcus mutans, Streptococcus sobrinus, Actinomycosis actinomycetemcomitans, Candida albicans az Enterococcus faecalis luan แพลงโทนิกและไบโอฟิล์ม โดยวิธี Agar well diffusion method, การทดสอบค่าความเข้มข้นที่น้อย ที่สุดของสารประกอบซิลเวอร์ที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (MIC และ MBC) และประสิทธิภาพของ สารประกอบซิลเวอร์ชนิดต่างๆต่อการยับยั้งและทําลายไบโอฟิล์มได้ 100% โดยพบว่าพบว่าสาร Ag,0 + NH F และ AgNO, มีความสามารถในการต้านเชื้อทดสอบได้ทั้งห้าชนิด ในขณะที่สาร Ag complex ไม่สามารถด้านเชื้อ E. faecalis และ Actinomycosis actinomycetemcomitans ในสภาวะ แพลงโทนิกและไบโอฟิล์มได้ เมื่อนําสารทดสอบมาศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุช่องปากมนุษย์ (Keratinocyte cell line: H357) พบว่าสาร Ag,O + NHF และ AgNO, ทุกความเข้มข้น มีความเป็น พิษต่อเซลล์เท่ากับร้อยละ 100 แต่สาร Ag complex ที่ความเข้มข้น 0.0475 และ 0.0023 ppm มีความ เป็นพิษต่อเซลล์เท่ากับร้อยละ 47.08 และร้อยละ 24.58 ตามลําดับ จากนั้นศึกษาผลของสารทดสอบ ต่อการยับยั้งฟันผุในแบบจําลองฟันมนุษย์ วัดผลโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับ ไมโครเมตร วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงเส้น (linear attenuation coefficients: LAC) ของแร่ธาตุในเนื้อฟันกรามแท้ จํานวน 40 ซี่ พบว่ากลุ่มควบคุมบวกสามารถ ยับยั้งการผุได้ร้อยละ 100 ในขณะที่กลุ่มที่ทาสาร AgNO, ยับยั้งได้ร้อยละ 25, Ag,O+ NHF ยับยั้งได้ ร้อยละ 45 และ Ag complex ยับยั้งได้ร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ทาสารใด ๆ และการศึกษา การเปลี่ยนสีของเนื้อฟันหลังทาสารทดสอบเมื่อเวลาผ่านไป 1, 7 และ 14 วันพบว่าสีจะมีอัตราการ เปลี่ยนแปลงมากที่สุดภายใน 7 วันหลังทาสารประกอบซิลเวอร์ โดยสาร Ag,O + NHF มีค่าเฉลี่ยสะสมการเปลี่ยนสีมากที่สุด รองลงมาคือสาร AgNO, ซึ่งทั้งสองสารมีความแตกต่างจากกลุ่ม ควบคุม (No treatment) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนสาร Ag complex นั้นมีค่าเฉลี่ย สะสมการเปลี่ยนสีน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p < 0.05) |
Description: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก), 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19515 |
Appears in Collections: | 650 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
435273.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License