Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19514
Title: | การเปรียบเทียบความสามารถในการต้านเชื้อและการคงฤทธิ์ของอนุภาคซิลเวอร์นาโนขนาดต่าง ๆ ในโพลอกซาเมอร์ 407 เจล และในมาโครกอลผสมโพรพิลีนไกลคอล สำหรับใช้ในคลองรากฟัน |
Other Titles: | Comparison of antimicrobial activity and substantivity of various sizes of silver nanoparticles in poloxamer 407 gel and in macrogol mixed with propylene glycol as an intracanal medicament |
Authors: | รวี เถียรไพศาล นฤพร ทาไทย Faculty of Dentistry คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Keywords: | การรักษาคลองรากฟัน |
Issue Date: | 2019 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Incomplete disinfection of root canal system may result in root canal treatment failures. Enterococcus faeculis and Candida albicans are the most commonly detected species in case of failed endodontic treatment. Antibacterial properties of silver nanoparticles can be shown against broad-spectrum of microorganism; recent studies have focused on using silver nanoparticles for disinfect root canal in the form of medication. The characteristic feature of silver nanoparticles is in liquid form. Therefore, this study focused on the development of a novel silver nanoparticles gel in various vehicles to be suitable for use as an intracanal medicament. A recent study to compare the antimicrobial activity of silver nanoparticles in various vehicles was limited. This study aimed to evaluate the comparison of antimicrobial activity and substantivity of various sizes of silver nanoparticles in poloxamer 407 gel and in macrogol mixed with propylene glycol as an intracanal medicament. The antimicrobial susceptibility of planktonic forms was performed by using agar diffusion, broth microdilution methods, and agar dilution method. Then, a types of silver nanoparticles have shown the most antimicrobial susceptibility was used in human tooth model. The results revealed that silver nanoparticles in tannic acid of a 200 PPM silver nanoparticles suspension and nanoparticle diameter 5-10 nm had the most antimicrobial activity. Both E. faeculis and C. albicans were susceptible to this tested agent with the most degree of inhibition zone. Although this agent was not able to eliminate E. faeculis but gave the lowest action MIC and gave the lowest action MIC & MBC against C. albicans. The application this agent with a high concentration at 10,000 PPM was able to eliminate both organisms. Therefore, this agent was used to develop the vehicle containing silver nanoparticle suspension to study in human tooth model. The antimicrobial activity of silver nanoparticles in poloxamer 407 and in macrogol mixed with propylene glycol in human tooth model found that silver nanoparticles in macrogol mixed with propylene glycol and silver nanoparticles in poloxamer 407 resulted in significant decrease in number of colonies of both organisms compared to macrogol mixed with propylene glycol and poloxamer 407, respectively (p<0.05). The number of colonies of both organisms observed after dressing with silver nanoparticles in macrogol mixed with propylene glycol was significantly less than observed in silver nanoparticles in poloxamer 407 (p<0.05). The number of colonies of both organisms in root dentin samples collected from the depth of 0.1 mm had significantly differ from 0.2 and 0.3 mm (p<0.05). However, there was no significant difference in number of colonies between 0.2 and 0.3 mm depth in both organisms (p>0.05). The antimicrobial substantivity results showed that silver nanoparticles in both vehicles have not provided residual antimicrobial effects against both organisms in dentin. |
Abstract(Thai): | การกําจัดเชื้อในคลองรากฟันที่ไม่สมบูรณ์ อาจเป็นสาเหตุของความล้มเหลวในการ รักษาคลองรากฟัน โดยเชื้อเอนเทอโรคอคคัส ฟีคาลิส และแคนดิดา อัลบิแคนส์ เป็นเชื้อที่มักพบในการ รักษาคลองรากฟันที่ล้มเหลว ซึ่งจากคุณสมบัติในการต้านเชื้อของอนุภาคซิลเวอร์นาโน ที่สามารถฆ่า เชื้อได้หลายชนิด จึงมีการนํามาใช้เป็นสารใส่ในคลองรากฟัน อย่างไรก็ตาม อนุภาคซิลเวอร์นาโน อยู่ ในรูปแบบที่เป็นของเหลว ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีความสนใจที่จะนําอนุภาคซิลเวอร์นาโนมาผสมใน เจลเบสชนิดต่างๆ เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมในการนําไปใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันการศึกษาเพื่อ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของอนุภาคซิลเวอร์นาโนในเจลเบสชนิดต่างๆ ยังมีรายงานอยู่อย่างจํากัด ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการต้านเชื้อและการคงฤทธิ์ในเนื้อ ฟีน ของอนุภาคซิลเวอร์นาโนขนาดต่างๆ ในโหลอกซาเมอร์ 407 เจล และในมาโครกอลผสมโพรพิลีน ไกลคอล เมื่อใช้เป็นสารใส่ในคลองรากฟัน โดยการศึกษาความไวในการต้านเชื้อจุลชีพในสภาวะ แพลงโตนิค ต่อสารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนขนาดต่างๆ ด้วยวิธี Agar diffusion, Broth microdilution และ Agar dilution method จากนั้นนําสารชนิดที่ให้ผลการทดสอบดีที่สุดไปศึกษาต่อในแบบจําลองฟัน มนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า สารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนในกรดแทนนิก ความเข้มข้น 200 PPM ขนาด อนุภาคซิลเวอร์นาโน 5-10 นาโนเมตร ให้ผลการทดสอบดีที่สุด โดยผลการทดสอบ agar diffusion method ให้ขนาดเฉลี่ยโซนยับยั้งมากที่สุด ในเชื้อทั้งสองชนิด ผลการทดสอบ broth microdilution method แม้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อเอนเทอ โรคอคคัส ฟีคาลิส ได้ แต่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อได้โดยให้ค่า MIC ต่ําที่สุด และในเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและ ฆ่าเชื้อได้โดยให้ค่า MIC และ MBC ต่ําที่สุด ผลการทดสอบ agar dilution method พบว่าเมื่อใช้ที่ความ เข้มข้นที่สูงขึ้นคือ 10,000 PPM สามารถฆ่าเชื้อได้ทั้งสองชนิด ดังนั้นจึงเลือกใช้ สารละลายอนุภาคซิล เวอร์นาโนในกรดแทนนิก ขนาดอนุภาคของซิลเวอร์นาโน 5-10 นาโนเมตร ความเข้มข้น 10,000 PPM มาพัฒนาโดยผสมกับตัวนําส่งสารชนิดต่างๆ สําหรับศึกษาในแบบจําลองฟันมนุษย์ ผลการศึกษา ความสามารถในการต้านเชื้อ ของสารผสมของสารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนในตัวนําส่งสารโพลอก ซาเมอร์ 407 และมาโครกอลผสมกับโพรพิลีนไกลคอล ในแบบจําลองฟันมนุษย์พบว่า สารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนในมาโครกอลผสมกับโพรพิลีนไกลคอล และสารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนใน โพลอกซาเมอร์ 407 มีความสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทั้งสองชนิด ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมมา โครกอลผสมกับโพรพิลีนไกลคอล และโพลอกซาเมอร์ 407 ตามลําดับ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ (p<0.05) โดยสารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนในมาโครกอลผสมกับโพรพิลีนไกลคอล มีความสามารถ ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทั้งสองชนิดได้ดีกว่าสารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนในโพลอกซา เมอร์ 407 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ (p<0.05) และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ (p<0.05) ของค่าเฉลี่ยจํานวนโคโลนีของเชื้อระหว่างระดับความลึกของเนื้อฟัน 0.1 มิลลิเมตร กับ 0.2 และ 0.3 มิลลิเมตร ส่วนระดับความลึก 0.2 กับ 0.3 มิลลิเมตร พบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสําคัญทาง สถิติ (p>0.05) ในเชื้อทั้งสองชนิด ผลการศึกษาการคงฤทธิ์ของสารทดสอบในเนื้อฟัน พบว่าสารผสม ของสารละลายอนุภาคซิลเวอร์นาโนในตัวนําส่งสารทั้งสองชนิด ไม่มีความสามารถในการคงฤทธิ์ในเนื้อฟัน |
Description: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก), 2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19514 |
Appears in Collections: | 650 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
435551.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License