Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19511
Title: การลดต้นทุนระบบการดำเนินงานการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยแก๊สของหน่วยงานเวชภัณฑ์กลาง กรณีศึกษาโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Other Titles: Cost reduction of medical gas sterilization operating system in Central Sterile Supply Department (CSSD) : Case study of Songklanagarind Hospotal
Authors: นภิสพร มีมงคล
ทักษพร ประเศรษโฐ
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Keywords: การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต);วัสดุทางการแพทย์ ต้นทุนและประสิทธิผล;หม้อนึ่งอัดไอน้ำ ต้นทุนและประสิทธิผล
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this project is to reduce the waiting time of medical equipment in the process of sterile in order to analyze the cost of service charges, by having the time of medical equipment that waiting on queue and the cost which are the main variable for this cast. However, this project staring by using ProModel® 2016 program to create the simulation of the sterile process, which refer to the real situation, and setting 4 indicators which are the ratio of utilization, the average waiting time, the amount of medical equipment that finished and opportunity cost. In addition, there are 2 costs that relevant and need to consider which are direct cost and indirect cost that calculated from 7 variables, in order to improve the cost of 5 difference size (GA01 GA02 GA03 GA04 and GA05) of medical equipment. In conclusion, the result has shown the service rate of using Ethylene Oxide (EtO) and Hydrogen Per Oxide (H2O2) was changed from the initial data which shown 144.04 percent and 287.67 in respectively. Regarding to the alternative 1 which using Ethylene Oxide (EtO) for sterile by adjusting the ratio of medical equipment to be 30 percent and 70 percent for apply Hydrogen Per Oxide (H2O2), this is an optimal solution that might improve the working process of the organization. Thus, this alternative can decrease the waiting time of medical equipment about 1.36 percent and can reduce the cost of waiting time which is 14.57 percent. This made the performance of the department have more efficiency in term of sending the medical equipment on time.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบการดําเนินงานโดยการลดระยะเวลารอคอยวัสดุ ทางการแพทย์ที่เข้ามารับบริการด้วยเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยแก๊ส แล้วทําการวิเคราะห์ต้นทุนอัตราการ ให้บริการของวัสดุทางการแพทย์ที่เข้ามารับบริการ โดยมีตัวชี้วัดคือ ระยะเวลาการรอคอยของวัสดุทาง การแพทย์ที่ต้องเข้ารับบริการ และต้นทุนที่เหมาะสมสําหรับการประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน จากการเก็บ ข้อมูลสภาพปัจจุบันของกระบวนการทํางาน เพื่อสร้างสถานการณ์จําลองเสมือนกระบวนการทํางานจริง ในหน่วยงาน และปรับปรุงกระบวนการทํางานด้วยการสร้างสถานการณ์ทางเลือกผ่านโปรแกรม ProModel 2016 ผลจากแบบจําลองสถานการณ์ผ่านตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัว ได้แก่ สัดส่วนค่าอรรถประโยชน์ ระยะเวลาเฉลี่ยของงานที่อยู่ในแถวคอย จํานวนห่อวัสดุทางการแพทย์ที่ออกจากระบบ และต้นทุนค่าเสีย โอกาส ผลการศึกษาสามารถอธิบายได้ดังนี้ (1) การคํานวณต้นทุนการให้บริการวัสดุทางการแพทย์ของ หน่วยงาน ได้จัดประเภทการปรับปรุงต้นทุนราคาแต่ละขนาดของวัสดุทางการแพทย์ทั้งหมด 5 ขนาด (GA01 GA02 GA03 GA04 และ GA05) ออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 การคํานวณต้นทุน ทางตรงของห่อวัสดุทางการแพทย์ และประเภทที่ 2 การคํานวณต้นทุนทางอ้อมของห่อวัสดุทาง การแพทย์ ผ่านตัวแปรทั้งหมด 7 ตัวแปร ซึ่งผลที่ได้จากการคํานวณมีอัตราการเปลี่ยนแปลงสําหรับห่อ วัสดุทางการแพทย์แก๊สเอทธิลีนออกไซด์ และแก๊สไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ มีอัตราค่าบริการที่ เปลี่ยนแปลงจากราคาเดิมร้อยละ 144.04 และ 287.67 ตามลําดับ (2) การจําลองสถานการณ์ซึ่ง สถานการณ์ทางเลือกที่ 1 คือ การเปิดเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วยแก๊สเอทธิลีนออกไซด์ หมายเลข 1 ปรับ สัดส่วนของวัสดุทางการแพทย์โดยให้ร้อยละ 30 เข้าฆ่าเชื้อด้วยแก๊สเอทธิลีนออกไซด์ และร้อยละ 70 เข้าฆ่าเชื้อด้วยแก๊สไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสําหรับการปรับปรุง กระบวนการทํางานของหน่วยงานในปัจจุบันผ่านการพิจารณาด้วยตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัว ซึ่งสถานการณ์ ทางเลือกนี้สามารถช่วยลดระยะเวลารอคอยวัสดุการแพทย์ที่จะเข้ามารับบริการด้วยเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อด้วย แก๊สได้ร้อยละ 1.36 และลดต้นทุนระยะเวลารอคอยที่เกิดขึ้นได้ร้อยละ 14.57 ส่งผลให้หน่วยงาน สามารถส่งวัสดุทางการแพทย์กลับสู่แผนกต้นทางได้ทันตามเวลาที่กําหนด
Description: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการและระบบ), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19511
Appears in Collections:228 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435567.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons