Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19505
Title: ความเสี่ยงของบุคลากรและการจัดการความเสี่ยงของบุคลากรโดยหัวหน้างานตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้
Other Titles: Personnel risk and its management by head nurses as perceived by registered nurses in accident and emergency rooms in general hospitals, southern Thailand
Authors: นงนุช บุญยัง
กิติพงษ์ จันทรพล
Faculty of Nursing (Nursing Administration)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
Keywords: บุคลากรทางการแพทย์ การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research was to study the potential risk of personnel as perceived by registered nurses, and the level of personnel risk management by the head of the department (HD) according to the perception of registered nurses in the accident and emergency department in general hospitals in the south of Thailand, and to find relationships between personnel risk and personnel risk management by the head of the department. The sample used in the research comprised 188 registered nurses working in the accident and emergency department of 14 hospitals for as least 1 year. Simple sampling method without replacement was used to draw the sample. A questionnaire in 3 parts (sociodemographic data, personnel risk, and risk management) was used to collect data. The reliability of the questionnaire part 2 was 0.95, and of part 3 0.95, Data were analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation and Pearson correlation. The research found that the average score of personnel risk was at a moderate level (M=2.06, SD= 0.32). The average level of risk management of personnel by the head of the department according to the perception of registered nurses, was at a moderate level (M=3.53, SD= .63). The relationship between the potential risk of personnel and the personnel risk management by the head of the department according to the perception of registered nurses, using Pearson's correlation statistics, revealed that the risk of using social media had a low positive correlation with workplace risk management by the head of the department with statistical significance (r= .165, p= .024). The results of this study can be used as a guideline to improve the quality of risk management of supervisors in accident and emergency departments to improve the safety of personnel.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาระดับโอกาสเกิดความเสี่ยงของบุคลากรตามการรับรู้ของพยาบาลประจําการหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้ เพื่อศึกษาระดับการจัดการความเสี่ยงของบุคลากรโดยหัวหน้าหน่วยงานตามการรับรู้ของพยาบาลประจําการหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้ และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง โอกาสเกิดความเสี่ยงของบุคลากรและการจัดการความเสี่ยงของบุคลากรโดยหัวหน้างาน ตามการรับรู้ ของพยาบาลประจําการหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาล ทั่วไป ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย คือ พยาบาลประจําการ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้อย่างน้อย 1 ปี จํานวน 14 แห่ง จํานวนทั้งสิ้น 188 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบอย่างง่ายโดยการจับฉลากแบบไม่คืนที่ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลที่มีค่าค่าความ เที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2 เท่ากับ 0.95 ส่วนที่ 3 เท่ากับ 0.95 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจก แจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติ สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พบว่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเกิดความเสี่ยงของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.06, SD = 0.32) ค่าเฉลี่ยระดับการจัดการความเสี่ยงของบุคลากร โดยหัวหน้างานตามการรับรู้ของพยาบาล ประจําการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้ อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.53, SD = .63) ความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสเกิดความเสี่ยงของบุคลากรกับ การจัดการความเสี่ยงของบุคลากรโดยหัวหน้างาน ตามการรับรู้ของพยาบาลประจําการหน่วยงาน อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ความเสี่ยง จากการใช้สื่อสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ํากับการจัดการความเสี่ยงในสถานที่ทํางานโดย หัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = .165, p = .024) ผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนํามาเป็นแนวทางพัฒนา คุณภาพการบริการงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินด้านการจัดการความเสี่ยงของหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉินและการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยของบุคลากร
Description: Master of Nursing Science ( Nursing Administration), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19505
Appears in Collections:649 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435511.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons