Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19446
Title: | การพัฒนารูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพระดับยุทธศาสตร์: กรณีศึกษา การท่องเที่ยวโดยชุมชน เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน |
Other Titles: | Model Development of Strategic Health Impact Assessment on the Community-Based Tourism: A Case Study of Andaman Tourism Development Areas |
Authors: | อุมาพร มุณีแนม ประวิช ขุนนิคม Faculty of Environmental Management (Environmental Management) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม |
Keywords: | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ;การพัฒนารูปแบบ;ยุทธศาสตร์;เขตพัฒนาการการท่องเที่ยวอันดามัน;การท่องเที่ยวโดยชุมชน |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | This action research aimed to develop Health Impact Assessment (HIA) Model at a strategy level in a case study of the Andaman Tourism Development Cluster. Two main steps were carried out; 1) HIA model development by reviewing the related documents and using a focus group discussion to study the area context with ten representative of entrepreneurs directly related to this community-based tourism management in (1) Ban Sam Chong Nuea, (2) Ban Hua Khuan, (3) Ban Na Tin, (4) Bo Hin Farm Stay, and (5) Ban Bo Chet Luk. Then, a focus group discussion was operated with twenty officials from the Tourism Development Committee, Andaman Tourism Cluster, and 2) the model was validated by using Modified Delphi Technique with the opinions of 17 experts. Afterward, the HIA model at a strategic level was confirmed by using a group discussion with the community-based tourism stakeholders and the organizations. The research results revealed that HIA at a strategy level included six main steps. The first main step was screening, consisting of six substeps: (1) the appointment for the Tourism Development Sub-committee, Andaman Tourism Cluster to be the HIA monitoring committee, (2) the working committee appointment, (3) the determination of their roles and duties, (4) surveys and interviews to ask about tourists’ needs, (5) interviews with officials in government and private offices, and community leaders, and (6) holding a screening meeting. The second step was scoping of the study and HIA guidelines, containing four substeps: (1) a group meeting for the Tourism Development Sub-committee, Andaman Tourism Cluster and the HIA working committee to determine the scope, (2) a group meeting or a workshop between two committees to determine the technical scope of the target and indicators, (3) a group meeting or a workshop between two committees to develop alternatives, and (4) the conclusion of strategic alternatives by two committees. In the third step, HIA, there were four substeps: (1) the collection of the primary and secondary data as scoped, (2) the data analysis for positive and negative impacts, (3) prioritizing health impacts, and (4) making the HIA report, and the results of the strategic alternatives. In the fourth step, reviews of the study report, and the health impact analysis included five substeps: (1) a meeting for brainstorming, (2) sending emails to the organizations to review together with the communities, (3) making the review conclusion and the report, (4) conducting a plan and a project based on the strategic proposal, and (5) the online data distribution. For the fifth step, the encouragement for decision-making was composed of three substeps: (1) a meeting for the study presentation to make a decision on the strategy operation, follow-up, and assessments, (2) the determination of the guidance and follow-up and assessments as well as responsible people and organizations for follow-up and assessments, and (3) the public presentation. Regarding the sixth step, the follow-up and assessments were operated based on requirements and suggestions from the assessments, positive and negative health impacts, well-beings, and equality. This strategic health impact assessment model is a practical model that can be implemented to determine the development direction from the facts and create value for communities with the capacity to participate in developing strategies. |
Abstract(Thai): | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพระดับยุทธศาสตร์ กรณีศึกษาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การพัฒนารูปแบบ โดยใช้วิธีการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่มในกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยตรง เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน และผู้ประกอบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ใน (1) ชุมชนบ้านสามช่องเหนือ (2) บ้านหัวควน (3) บ้านนาตีน (4) บ่อหินฟาร์มสเตย์ และ (5) บ้านบ่อเจ็ดลูก จำนวนทั้งสิ้น 10 คน จากนั้นจึงใช้วิธีการสนทนากลุ่มในกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยว อันดามันจำนวนทั้งสิ้น 20 คน และ 2) การตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบ โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง ทำการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน และดำเนินการยืนยันรูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพระดับยุทธศาสตร์ ด้วยการอภิปรายกลุ่มในกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยตรง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพระดับยุทธศาสตร์มี 6 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นตอนหลักที่ 1 การกลั่นกรอง ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนย่อย คือ 1) กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเขตอันดามันเป็นคณะกรรมการกำกับการทำ HIA 2) กำหนดให้มีคณะทำงาน 3) กำหนดบทบาทและหน้าที่ของคณะทำงาน 4) ดำเนินการสำรวจ และสัมภาษณ์ความต้องการของนักท่องเที่ยว 5) ดำเนินการสัมภาษณ์หน่วยงานราชการ เอกชน ผู้นำชุมชน 6) ดำเนินการจัดประชุมกลั่นกรอง ขั้นตอนหลักที่ 2 การกำหนดขอบเขตการศึกษาและแนวทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย คือ 1) ดำเนินการจัดประชุมกลุ่มระหว่างคณะอนุกรรมการเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเขตอันดามัน และคณะทำงาน HIA เพื่อกำหนดกระบวนการกำหนดขอบเขต 2) ดำเนินการจัดประชุมกลุ่ม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างคณะกรรมการ และคณะทำงาน HIA เพื่อการกำหนดขอบเขตเชิงเทคนิคคือ เป้าหมาย ตัวชี้วัด 3) ดำเนินการจัดประชุมกลุ่ม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างคณะกรรมการและคณะทำงาน HIA เพื่อพัฒนาข้อเสนอทางเลือก 4) คณะอนุกรรมการเขตพัฒนาการท่องเที่ยวเขตอันดามันและคณะทำงาน HIA ดำเนินการสรุปข้อเสนอทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ ขั้นตอนหลักที่ 3 การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนย่อย คือ 1) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ตามขอบเขตที่กำหนด 2) ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประเมินผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบ 3) ดำเนินการจัดลำดับความสำคัญประเด็นผลกระทบต่อสุขภาพ 4) ดำเนินการ จัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และผลของข้อเสนอทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ ขั้นตอนหลักที่ 4 การทบทวนร่างรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย คือ 1) การจัดประชุมระดมความคิดเห็น 2) ดำเนินการส่งร่างรายงานทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้หน่วยงานทบทวนร่วมกับชุมชน 3) สรุปผลการทบทวนและจัดทำเป็นรายงานสรุปความคิดเห็น 4) จัดทำแผนงาน และโครงการตามข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ 5) เผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะทางช่องทางออนไลน์ ขั้นตอนหลักที่ 5 การผลักดันเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย คือ 1) การประชุมเพี่อนำเสนอผลการศึกษาเพื่อการตัดสินใจในการดำเนินการยุทธศาสตร์นั้นๆ และประเด็นในการติดตามและประเมินผล 2) กำหนดแนวทาง และประเด็นในการติดตามและประเมิน ตลอดจนหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบในการติดตามและประเมินผล 3) การนำเสนอผ่านสื่อสาธารณะ และขั้นตอนหลักที่ 6 การติดตามและประเมินผล เป็นการดำเนินการติดตามและประเมินผลตามประเด็นที่กำหนด ในด้านกระบวนการดำเนินการติดตามและประเมินผลตามประเด็นข้อเสนอแนะ จากผลการประเมิน และผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบที่จะส่งผลต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และความเท่าเทียม ทั้งนี้ การพัฒนารูปแบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพระดับยุทธศาสตร์ เป็นรูปแบบเชิงปฏิบัติการที่สามารถใช้เป็นโมเดลเชิงปฏิบัติ ในการกำหนดทิศทางจากข้อเท็จจริง และสร้างคุณค่าให้ชุมชนมีขีดความสามารถในการพัฒนายุทธศาสตร์อย่างมีส่วนร่วม |
Description: | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19446 |
Appears in Collections: | 820 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6210930006.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License