กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19437
ชื่อเรื่อง: ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความเครียดและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน ของบุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Positive Psychological Capital, Stress and Factors Affecting Burnout among Support Staff at Sirindhorn College of Public Health, the Affiliation Praboromarajchanok Institute.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อริยา คูหา
นูซีตา สาแม
Faculty of Education (Psychology and Counseling)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
คำสำคัญ: ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก;ความเครียด;ภาวะหมดไฟในการทำงาน;บุคลากรสายสนับสนุน;Positive Psychological Capital;Stress;Burn Out;Support Staff
วันที่เผยแพร่: 2023
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: The objective of this research study is to research 1) Positive psychological capital and burnout in the workplace of support staff 2) The relationship between personal factors, positive psychological capital and burnout in the workplace of support staff 3) Burnout factors among support staff. The research sample consists of 131 support personnel from the Sirindhorn College of Public Health, the Institute of Physical Education under the Royal Thai Government on 2022. The data will be analyzed by percentage, average, Standard Deviation, Pearson's Correlation Coefficient, and Multiple Regression Analysis. According to the result 1) The support staff have a high overall level of positive psychological capital (x ̅ = 4.02, SD. = 0.99) A majority of the support staff experience high levels of stress, with 36.60%. and low levels of burnout 2) The level of burnout in the workplace has a moderate negative correlation with positive psychological capital (r = -.422) at a significant level of .01 The level of burnout in the workplace has a moderate positive correlation with the level of stress (r = .551) at a significant level of .01 and 3) The independent variable that can be used to predict burnout among support staff is stress. (β = .354) positive psychological capital (β = -.334) and officer lever (β = .222) at a significant level of .05
Abstract(Thai): การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความเครียด และภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความเครียด และภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากร สายสนับสนุน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟ ของบุคลากรสายสนับสนุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 131 คน ประจำปี 2564 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) บุคลากรสายสนับสนุน มีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.02, SD. = 0.99) มีความเครียดส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 36.60 ภาวะหมดไฟในการทำงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ 2) ภาวะหมดไฟในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงลบระดับปานกลางกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก (r = -.422) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะหมดไฟในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับความเครียด (r = .551) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ตัวแปรอิสระ ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คือ ความเครียด (β = .354) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก (β = -.334) และระดับการปฏิบัติงาน (β = .222) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
รายละเอียด: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยา), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19437
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:286 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
6120121006.pdf15.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons