Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19424
Title: | การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการเรื่อง “กึมม๊วก: สาน-ศาสตร์-ศิลป์ ร่องรอย วัฒนธรรมและภูมิปัญญา” โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพื้นที่เกาะ จังหวัดสตูล |
Other Titles: | The Development of Integration Curriculum “Keum-Muk: Sarn-Sard-Sin Traces of Culture and Wisdom” through Project-Based-Learning to Promote Professional Skills and Creative Problem Solving Competency of Junior High School Students on Island Area, Satun |
Authors: | อลิสรา ชมชื่น เกศริน บินสัน Faculty of Education (Learning, Teaching, and Curriculum program) คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการเรียนรู้ การสอน และหลักสูตร |
Keywords: | Integrated Curriculum;Project-Based Learning;Professional Skills;Creative Problem-Solving Competency;School Students on Island Area;หลักสูตรบูรณาการ;การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน;ทักษะอาชีพ;ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์;โรงเรียนพื้นที่เกาะ |
Issue Date: | 2023 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | The purposes of this research were to 1) study the problems and needs related to develop the integrated curriculum 2) develop an integrated curriculum, “Keum-Muk: Sarn-Sard-Sin, traces of culture and wisdom,” Ban Koh Lipe school, satun province. 3) find the efficiency and effectiveness of the integrated curriculum and 4) improve the integrated curriculum. A research was conducted in the form of research and development (R&D), using a mixed method sesearch. The target groups collect data were villagers in koh lipe, folk philosopher, university professors of curriculum, teachers, school boards, and target groups experimental were 23 mathayom 2 students at Ban Koh Lipe school, satun province, 1st semester of the academic year 2022. It took a total of 20 hours to collect the required data. The tools used in this research include interview, focus group discussions the Integrated courses, vocational skills assessment, creative problem-solving ability assessment and a questionnaire on student satisfaction towards the integrated curriculum. Data were analysed by thematic analysis, mean, standard deviation and content analysis. The results obtained from the research were as follows: 1) The analysis of the basic data and needs for the development of the integrated curriculum found that a curriculum should be developed using the knowledge and local wisdom that emphasizes on career skills and the ability to solve problems creatively. 2) The results of the development of the integrated curriculum have 3 parts namely: 1) The integrated curriculum has 9 elements as follows: background, principles, aims, and additional course descriptions, content structure, class time, organizing learning activities, media/learning resources, and measurement and evaluation 2) curriculum manual 3) learning units and learning management plans whereby there are 3 learning units and 10 learning management plans. 3) The overall results of the evaluation on the efficiency of integrated curriculum indicated an efficiency value of E1/E2 which equal to 77.85/81.89 higher than the specified criteria. In term of the effectiveness, professional skills (𝑥̅ = 4.17, S.D. = 0.19) and creative problem solving competency (𝑥̅ = 4.01, S.D. = 0.11) at a high level of 2 variables. Students were satisfied with the overall integrated curriculum in all 4 areas at a high level. and 4) In terms of improving the integrated curriculum, there were 3 issues that should be improved namely: class time, organizing learning activities and media/learning resources suited with the school context. |
Abstract(Thai): | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ 2) พัฒนาหลักสูตรบูรณาการ “กึมม๊วก: สาน-ศาสตร์-ศิลป์ ร่องรอยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา” โรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล 3) หาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรบูรณาการฯ และ 4) ปรับปรุงหลักสูตรบูรณาการฯ ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (R&D) วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชาวบ้านเกาะหลีเป๊ะ ปราชญ์ชาวบ้าน อาจารย์มหาวิทยาลัยด้านหลักสูตร ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน 23 คน ใช้เวลา 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม หลักสูตรบูรณาการฯ แบบประเมินทักษะอาชีพ แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรบูรณาการฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เชิงประเด็น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ พบว่า ควรมีการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพและความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ มี 3 ส่วนคือ 1. หลักสูตรบูรณาการฯ 9 องค์ประกอบคือ ความเป็นมา, หลักการ, จุดมุ่งหมาย, คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม, โครงสร้างเนื้อหาสาระ, เวลาเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้, สื่อ/แหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 2. คู่มือการใช้หลักสูตร และ 3. หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ มี 3 หน่วยการเรียนรู้ และมี 10 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) ผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรบูรณาการฯ พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ77.85/81.89 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และประสิทธิผล พบว่า ทักษะอาชีพ (𝑥̅ = 4.17, S.D. = 0.19) และความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (𝑥̅ = 4.01, S.D. = 0.11) อยู่ในระดับมากทั้ง 2 ตัวแปร และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรบูรณาการฯ ภาพรวม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการปรับปรุงหลักสูตรบูรณาการฯ พบว่า มีประเด็นที่ควรปรับปรุง 3 ประเด็น ได้แก่ เวลาเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และสื่อ/แหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน |
Description: | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), 2566 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19424 |
Appears in Collections: | 270 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6320120602.pdf | 9.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License