Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19416
Title: Energy and Exergy Analysis of Forced Convective Ribbed Smoked Sheet Drying Process
Other Titles: การวิเคราะห์พลังงานและเอกเซอร์ยีในกระบวนการรมควันยางพาราด้วยวิธีการพาความร้อนแบบบังคับ
Authors: Perapong Tekasakul
Pennung Inthararak
Faculty of Engineering Mechanical Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
Keywords: Rubber Drying;Energy;Rubber Fumigation
Issue Date: 2023
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: Present work is analysis energy and exergy of forced convective ribbed smoked sheet drying process. The capacity of smoking room is (apoximately1500 sheets). The prepare before drying process by fresh rubber sheet squeezed to thin shape. Height 90-100 cm.*width 40-50 cm. and thickness 3-4 mm. after brings to dried ambient temperature during 10-12h. The initials moister of rubber about 35-40% before starts drying process. The work is varied are velocity inlet and moisture content of fuel-wood. Velocity is varied between 12 and 14 m/s and moisture content varied between 24-55% (Dry basis). The experiments are recorded temperature (inside outside and ambient of smoking room), weight of rubber sheet sample and fuel-wood used the combustion. The thermal analysis of drying room used to follow the first law of thermodynamic methodology. The thermal efficiency of drying all conditions between 12.3-16.7 %. The specific energy consumption between (SEC) between 13.5-16.9 MJ/kg of water evaporated. All conditions used drying time at 36 h. Considering, the experiments used wet fuel-wood (inlet velocity 12 m/s, 55% db of fuel-wood and inlet velocity 14 m/s, 53% db of fuel-wood) have the thermal efficiency are the highest and the lowest of overall specific energy consumption (SEC). Moreover, Percentage of rubber good quality have 100%. Conclude, the rubber smoking room optimize with the wet fuel-wood. Comparison between the forced convection rubber smoking room viii Dejchanchaiwong et al. (2017a) same type. Results, the present work can reduce SEC from 16.4 to 13.2 MJ/kg of water evaporated and drying time 48h to 36h. Moreover, present work increased thermal efficiency from 14.3% to 16.7%. The exergy analysis of drying room finds to availability energy of system. The overall exergy efficiency between 2.2-5.8. Considering, second ‘law efficiency is the highest (inlet velocity 12 m/s, 24% db of fuel-wood) but thermal efficiency and specific energy consumption (SEC) are the lowest. Due to second ‘law efficiency is direct variation with temperature inlet and outlet of smoking room. In condition inlet velocity 12 m/s, 24% (db) of fuel-wood have average temperature is the highest (78.0±7.5) comparison with other condition. But, percentage of good quality is the lowest (54.7%) comparison with other conditions. Because, the high temperature rubber sheet has bubbles and dark brown not follow standard of RSS 3 Conclude, second ‘law efficiency is the highest not optimize for the smoking room.
Abstract(Thai): ในงานปัจจุบันได้ทำการศึกษาและวิเคระห์พลังงานและเอกเซอร์ยีของกระบวนการ รมควันยางพาราด้วยวิธีการพาความร้อนแบบบังคับ โดยจะมีปริมาณยางพาราแผ่นที่ใช้ในการทดลองอยู่ ที่ประมาณ 1,500 แผ่น การเตรียมการก่อนกระบวนการอบแห้งแผ่น โดยทำการบีบยางสดให้เป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดความยาวที่ 90-100 ซม. กว้าง 40-50 ซม. และหนา 3-4 มม. หลังจากนั้นจะ นำไปผึ่งในอุณหภูมิสภาพแวดล้อมเป็นเวลา 10-12 ชั่วโมง โดยที่ความชื้นเริ่มต้นของยางพาราแผ่นจะอยู่ ระหว่าง 35-40% ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการอบแห้ง โดยจะทำการทดลอง 2 ตัวแปร 1.ความเร็วของลม ร้อนและ 2. ความชื้นของเชื้อเพลิง ความเร็วที่ใช้ในการทดลองนั้นจะมีค่าอยู่ที่ 12 และ 14 เมตร/วินาที และความชื้นของเชื้อเพลิงจะมีค่อยู่ระหว่าง 24-55% (ฐานแห้ง) และจะทำการบันทึกอุณหภูมิภายใน, ภายนอก, สิ่งแวดล้อมของห้องรมควันและน้ำหนักของที่ใช้ในการทดลอง ในการวิเคระห์พลังงานของการ อบแห้งนั้นจะใช้ทฤษฎีตามกฎของที่ 1 ของเทอร์โมไดนามิกส์ ซึ่งผลปรากฏว่าในการทดลองทุกกรณีจะใช้ เวลาทั้ง 36 ชั่วโมง ประสิทธิภาพทางความร้อนของห้องรมควันนั้นจะมีค่าประสิทธิภาพทางความร้อนอยู่ ระหว่าง 12.3 – 16.9% การใช้พลังงานจำเพาะจะมีค่าอยู่ระหว่าง 13.5-16.9 เมกะจูล/กิโลกรัมของน้ำที่ ระเหย การจากวิเคราะห์จะพบว่าในเงื่อนไข ความเร็วทางเข้า 12 เมตร/วินาที, ความชื้นเชื้อเพลิง 55% (ฐานแห้ง) และความเร็วทางเข้า 14 เมตร/วินาที, ความชื้นเชื้อเพลิง 55% ประสิทธิภาพทางความร้อน vi สูงสุดและการใช้พลังงานจำเพาะที่ต่ำที่สุดและพิจารณาร้อยละของยางดี (ยางแผ่นรมควันชั้น 3) ทั้ง 2 เงื่อนไขมีค่าอยู่ที่ ร้อยละ 100 นอกจากนั้นเมื่อนำงานวิจัยก่อนหน้านี้มาเปรียบเทียบจะพบได้ว่าสามารถ ที่จะลดระยะเวลาการอบแห้งจาก 48 ชั่วโมง เหลือเพียง 36 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพทางความร้อนจากเดิมที่ 14.3% เป็น 16.7% ซึ่งพอที่จะสรุปผลได้ว่าความชื้นที่สูงของ เชื้อเพลิงเหมาะสมในกระบวนการรมควันยางพาราแผ่นมากกว่าเชื้อเพลิงที่มีความชื้นต่ำ การวิเคราะห์เอกเซอร์ยีของการอบแห้งเป็นการหาพลังงานที่สามารถใช้งานได้จริงใน กระบวนการ ซึ่งจะใช้กฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์ในการวิเคราะห์ ในการทดลองนั้นประสิทธิภาพ ของเอกเซอร์ยีนั้นจะมีค่าอยู่ระหว่าง 2.2-5.8% โดยเงื่อนไขความเร็วทางเข้า 12 เมตร/วินาที, ความชื้น เชื้อเพลิง 24% (ฐานแห้ง) มีค่าประสิทธิภาพของเอกเซอร์ยีสูงสุด แต่เงื่อนไขดังกล่าวนั้นมีค่า ประสิทธิภาพทางความร้อนที่ต่ำที่สุด เนื่องจากการวิเคราะห์เอกเซอร์ยีของระบบนั้นจะอ้างอิงอุณหภูมิที่ ทางเข้าและทางออกของห้องรมควัน โดยเงื่อนไขดังกล่าวมีอุณภูมิที่สูงที่สุดเมื่อเทียบเทียบกับเงื่อน ไข อื่นๆ จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพของเอกเซอร์ยีนั้นมีค่าสูงตามไปด้วยแต่เมื่อพิจารณาร้อยละยางดีของการ ทดลองนั้นจะมีค่าต่ำที่สุด (54.7%) เนื่องจากอุณภูมิที่ทางออกสูงจนเกินไป (78.0±7.5) ส่งผลให้ ยางพาราแผ่นในการทดลองเกิดฟองอากาศขนาดใหญ่และมีสีคล้ำ ส่งให้ไม่เป็นไปตามมาตรฐานยางพารา รมควันชั้น 3 จึงผลพอที่จะสรุปได้ว่าประสิทธิภาพเอกเซอร์ยีที่สูงที่สุดไม่เหมาะสมกับกระบวนรมควัน ยางพาราแผ่น
Description: Master of Engineering (Mechanical Engineering), 2023
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19416
Appears in Collections:215 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210120036.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons