Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19412
Title: การจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีมุสลิมโดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมสำหรับครู สังกัดศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Managing Muslim Learning Resources Using a Participatory Process for Teachers at the Sai Buri District Learning Promotion Center, Pattani Province
Authors: ซัมซู สาอุ
วราภรณ์ ยาชะรัด
Faculty of Islamic Sciences
คณะวิทยาการอิสลาม
Keywords: แหล่งเรียนรู้ การมีส่วนร่วม;การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ปัตตานี
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This action research aimed to achieve the following objectives: 1) investigate challenges and provide guidelines for effective management of educational resources for teachers, 2) devise a participatory process for managing resources related to Muslim lifestyle education, 3) evaluate the outcomes of implementing this participatory process, and 4) assess the mechanisms needed to extend the results to educational institutions. The research targeted two groups: the Sai Buri District Learning Promotion Center, consisting of 36 individuals, and a separate group of 5 community members from Sai Buri District Municipality. These groups were selected through purposive sampling. Research tools included proposed activities for enhancing participatory processes, a group interview questionnaire, a participatory process skills assessment for teachers, a learning resource management plan assessment for teachers, and a teacher satisfaction assessment. Qualitative data underwent content analysis, while quantitative data were analyzed using percentages, averages, and standard deviations. The study revealed the following results: 1) Challenges in educational resource management for teachers encompassed issues related to learners, teaching methods, teaching processes, and community network engagement. Guidelines for improved resource management for teachers involved integrating resources with relevant subjects, fostering a conducive learning environment, creating student experiences rooted in participatory principles, and designing learning techniques and processes in collaboration with network partners. 2) The development of a participatory process for managing resources related to Muslim lifestyle education involved six key steps: analysis, design, develop. 3) Implementation of the participatory process to manage Muslim lifestyle learning resources resulted in teachers demonstrating good skills in learning resource management plan design (x̅ = 4.18, SD = 0.80), achieving a good level of proficiency in participatory process skills (x̅= 3.96, SD = 0.68), and overall, expressing high satisfaction with the participatory process (x̅ = 4.20, SD = 0.58). 4) Examination of the mechanism for extending the use of the participatory process for managing Muslim lifestyle learning resources to educational institutions revealed the development mechanism comprises four components: management, academic, motivation, and partnership.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับครู 2) พัฒนากระบวนการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีมุสลิมสำหรับครู 3) ศึกษาผลการใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีมุสลิมสำหรับครู และ 4) ศึกษากลไกการนำกระบวนการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีมุสลิมไปขยายผลสู่สถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มจากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสายบุรี จำนวน 36 คน และกลุ่มเป้าหมายจากชุมชนในเขตเทศบาลอำเภอสายบุรี จำนวน 5 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ กระบวนการแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์กลุ่ม แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบมีส่วนร่วมสำหรับครู แบบประเมินแผนการจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับครู และแบบประเมินความพึงพอใจของครูต่อการใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับครู ประกอบด้วย ด้านผู้เรียน กระบวนการสอน เนื้อหาการสอน และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ส่วนแนวทางการจัดการ แหล่งเรียนรู้สำหรับครู ประกอบด้วย การใช้แหล่งเรียนรู้บูรณาการกับรายวิชาที่เกี่ยวข้อง การสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม การออกแบบเทคนิคและกระบวนการเรียนรู้ ในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย 2) การพัฒนากระบวนการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีมุสลิมสำหรับครู ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ร่วมวิเคราะห์ ร่วมออกแบบ ร่วมพัฒนา ร่วมนำไปใช้ ร่วมประเมินผล และร่วมขยายผล โดยได้รับการประเมินคุณภาพในระดับดีมาก 3) ผลการใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการแหล่งเรียนรู้ วิถีมุสลิมสำหรับครู พบว่า ครูมีการออกแบบแผนการจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีมุสลิม ได้รับการประเมินคุณภาพระดับดี (x̅ = 4.18, S.D. = 0.80) ครูมีทักษะกระบวนการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งเรียนรู้ โดยได้รับการประเมินคุณภาพระดับดี (x̅ = 3.96, S.D.= 0.68) และมีความพึงพอใจของครูต่อกระบวนการแบบมีส่วนร่วมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.20, S.D. = 0.58) และ 4) ผลการศึกษากลไกการนำกระบวนการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีมุสลิมสำหรับครูไปขยายผลสู่สถานศึกษาจากการจัดเวทีนำเสนอ พบว่ากลไกการพัฒนาแบบ MAMP ประกอบด้วยกลไกด้านการบริหารจัดการ (Management) กลไกด้านวิชาการ (Academic) กลไกด้านแรงจูงใจ (Motivation) และภาคีเครือข่าย (Partnership)
Description: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19412
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6520420114.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons